วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

บัณฑิตใหม่



ไม่ใช่ .... ลับ ลวง พลาง ที่ไหนนะครับ

แต่เป็นมาดสวย ดุ ของน้องต่ายเขาหละ

Congratulations นะจ๊ะ

.

บัณฑิตใหม่


ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ด้วยนะครับ เพิ่งรับปริญญาไปสดๆร้อนๆไม่กี่วันมานี่เอง
ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงานนะครับ
.














จำคุณหน่อยได้หรือเปล่าครับ
เธอมีความจำเป็นทางครอบครัวไม่สามารถมาเรียนร่วมกับพวกเราได้อีกต่อไป แต่ได้ข่าวว่าจะโอนไปเรียนรุ่นต่อไป
พวกเราทุกคนเป็นกำลังใจให้นะครับ



















น้องกุ๊กไฟแรง จบตรีปุ๊บ ต่อโททันที


Congratulations อีกครั้ง


.

รายนามคณะกรรมการรุ่น 8/2553

คณะกรรมการบริหาร

ประธานกรรมการ
นายพิทักษ์ สมนึก

รองประธานกรรมการ คนที่ 1
นายขวัญชัย เพียคุณา (ขวัญ)

รองประธานกรรมการ คนที่ 2
นายอติชาติ วิโนทัย

รองประธานกรรมการ คนที่ 3
รตท. ทศพร หงษ์ทอง (แบ้งค์)

คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ
ไตรภพ สุวรรณสุภา

คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรม
ว่าที่ร้อยตรีกิติกร จริยาคุณาพร (ต้อง)

คณะกรรมการฝ่ายการเงิน/บัญชี
น.ส. วรรณพร บุณโทน (จิบ)

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงาน
น.ส. ฉัตรวลี วรามิตร (ฝน)






.

ผลสอบ LP 500 ออกแล้วจ้า

ผลการสอบวิชา LP 500 ภาค 2/2552 ประกาศแล้ว ให้ไปดูที่

http://www.pal.ru.ac.th//downloads/news8/2010-02-18-LP500-รุ่น8.pdf

โชคดีทุกท่านนะครับ




.

ต้องการข้อมูลสอบ

1. เพื่อน นศ. ท่านใดที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอบวิชา "กฎหมายมหาชนสำหรับการบริหารรัฐกิจ" (LP 602) เช่น ข้อมูลที่จะออกสอบ โน้ตย่อที่ท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ คำถามที่อาจารย์น่าจะนำมาออกสอบ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวิชานี้ ช่วยบอกต่อมาใน Blog นี้ด้วยนะครับ ผมจะได้นำมาลงให้เพื่อนๆได้รับทราบกันทั่วถึง
เราเรียนเป็นทีมเวิ์คนะครับ

2. ส่วนรายงาน อาจารย์ท่านบอกว่าจะนำมาออกข้อสอบ 1 ข้อ ฉะนั้น ขอให้แต่ละกลุ่มช่วย Forward รายงานมาให้ผมด้วยขอรับ จะได้จัดการโหลดลง blog ให้

ไตรภพ
traipopeusa@gmail.com




.

รายงาน เรืองเงืื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง

เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง

หลักการหรือทฤษฎีที่ศาลปกครองใช้ในการควบคุมการกระทำทางปกครองคือหลักที่ว่า การกระทำของฝ่ายปกครองจะต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นหลักที่ศาลปกครองใช้อ้างความชอบธรรมในการเข้ามาควบคุมตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองทั้งหมด หลักดังกล่าวนี้มีที่มาจากหลักนิติรัฐนั่นเอง

รัฐต่างๆ ทั่วโลกจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ
1. กลุ่มนิติรัฐ (Legal State) หมายถึง รัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย การใช้อำนาจรัฐอยู่ภายใต้กฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. กลุ่มรัฐเผด็จการหรือรัฐตำรวจ หมายถึง รัฐที่ใช้อำนาจอย่างเผด็จการ ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการซ้ายจัดหรือขวาจัด ซ้ายจัด เช่น ประเทศในระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) ส่วนขวาจัดเช่นพวกละตินอเมริกา อัฟริกาที่ปกครองโดยคณะปฏิวัติรัฐประหารของทหารหรือพลเรือน
ในอดีตผู้ปกครองรัฐในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักใช้อำนาจอย่างล้นพ้นไม่มีขอบเขต ไม่มีกรอบว่าอย่างใดชอบหรือไม่ชอบ ต่อมาเมื่อมีระบอบประชาธิปไตยหากผู้ปกครองยอมที่จะจำกัดอำนาจตนเองลงมาให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่ประชาชนในรัฐนั้นก่อให้เกิดขึ้นมาโดยผ่านทางสภานิติบัญญัติ ประชาชนก็ยอมรับได้
มงเตสกิเยอร์นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสตั้งสมมติฐานว่า “ใครก็ตามที่มีอำนาจก็ย่อมลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจและใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เมื่อเป็นผู้ปกครองก็อาจใช้อำนาจตามอำเภอใจ เมื่อใช้อำนาจเช่นนั้นกับผู้อยู่ใต้ปกครองคือประชาชนก็จะทำให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนไม่มีหลักประกัน” เขาจึงมีแนวคิดว่าควรมีกลไกหรือกรอบจำกัดอำนาจของผู้ปกครองไว้ กลไกดังกล่าวจึงเป็นที่มาของหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจรัฐ มงเตสกิเยอร์เห็นว่าอำนาจรัฐไม่ควรจะให้อยู่ในมือของบุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวกัน แต่ควรแบ่งแยกการใช้อำนาจโดยหลายองค์กร หลังจากเขาได้ศึกษารูปแบบการปกครองในหลายๆ ประเทศแล้วจึงสรุปไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “Spirit of Law” หรือ “ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” เป็นทฤษฎีที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจรัฐที่เป็นกลไกจำกัดกรอบอำนาจของผู้ปกครองไม่ให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ
กล่าวโดยสรุป คือ รัฐทุกรัฐไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใดก็ตาม จะมีหน้าที่หลักอยู่สามประการ กล่าวคือ เมื่อคนอยู่รวมกันในสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์กติกาเพื่อให้ทราบว่าอะไรคือสิทธิ หน้าที่ อะไรทำได้หรือไม่ได้ กฎเกณฑ์กติกาดังกล่าวก็คือกฎหมายนั่นเอง ฉะนั้น หน้าที่รัฐประการแรก คือ ต้องออกกฎหมาย องค์กรแรกที่แบ่งแยกอำนาจนี้ไปใช้ก็คือฝ่ายนิติบัญญัติ และเมื่อมีกฎหมายแล้วก็ต้องมีการบังคับใช้ตามกฎหมายให้กฎหมายนั้นศักดิ์สิทธิ์ หน้าที่ของรัฐประการที่สองคือมีฝ่ายที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งก็คือฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายบริหารจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ได้มีวิวัฒนาการของหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีเพียงหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเช่นในสมัยของมงเตสกิเยอร์เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมถึงในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย ซึ่งเมื่อรัฐมีคนอยู่กันจำนวนมากก็ต้องมีข้อพิพาทบาดหมางกันบ้าง จึงต้องมีคนกลางทำหน้าที่ตัดสินหรือวินิจฉัยข้อพิพาทเหล่านั้น มิฉะนั้น ประชาชนจะตัดสินกันเองเป็นสังคมมาเฟีย ประเทศชาติไม่มีความสงบสุข ดังนั้น หน้าที่ประการที่สามของรัฐดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการคอยทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ
มงเตสกิเยอร์เห็นว่าหน้าที่หลักของรัฐมีเพียงสามอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงควรแยกใช้โดยสามองค์กร และไม่ควรให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีหน้าที่สองอย่างขึ้นไป เช่น หากออกกฎหมายเอง ตัดสินเอง ทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ หากรัฐไม่ชอบหน้าใครก็ออกกฎหมายบังคับและตัดสินโทษเอง เช่นนี้จะทำให้สิทธิของประชาชนไม่หลงเหลืออยู่เลยเพราะผู้ใช้อำนาจรัฐจะออกกฎหมายอย่างไรตามอำเภอใจก็ได้ ซึ่งก็เปรียบเสมือนยุคที่มีการปฏิวัติรัฐประหารนั่นเอง เพราะเป็นการรวบอำนาจทั้งสามอย่างไว้ในองค์กรเดียวเท่านั้น

เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง
“ เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง” หมายความว่า ในการฟ้องคดีนั้นหากผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดศาลก็มีสิทธิที่จะไม่รับฟ้องโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของคดีแต่อย่างใด
เงื่อนไขการฟ้องคดี มีประเด็นดังต่อไปนี้
1. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือนร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
............”
ประเด็นสำคัญคือ จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องกับข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน คนที่จะฟ้องคดีจะต้องเกิดความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กรณีที่ “อาจจะ” เดือดร้อนนั้นหมายความว่าความเดือดร้อนยังไม่เกิด แต่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้หากกฎหรือคำสั่งนั้นมีผล
ตัวอย่าง กระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงว่าต่อไปนี้ร้านขายยาทุกร้านจะต้องมีเภสัชกรประจำร้าน ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยบังคับให้ต้องมีเภสัชกร ต่อมาเมื่อออกกฎกระทรวงแล้วก็ให้เวลาสามเดือนให้ร้านขายยาได้มีเวลาหาเภสัชกรมาประจำร้าน หมายความว่ากฎกระทรวงนี้จะใช้บังคับเมื่อครบกำหนดสามเดือนแล้ว ก่อนจะครบกำหนดสามเดือนก็มีร้านขายยาร้านหนึ่งฟ้องให้เพิกถอนกฎกระทรวงนี้โดยอ้างว่ากฎกระทรวงดังกล่าวขัดต่อพระราชบัญญัติแม่บทของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องนี้เขามีสิทธิฟ้องเพราะหากกฎกระทรวงมีผลบังคับเขาก็ต้องหาเภสัชกรมาประจำร้าน ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องถูกลงโทษแน่นอน กล่าวคือ เขาอยู่ในข่ายที่อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกมาก นี่คือตัวอย่างของผู้ที่อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เขาจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

2. การแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรือการยุติข้อโต้แย้งนั้นจะต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 ด้วย หมายความว่า การฟ้องคดีปกครองจะต้องฟ้องเพื่อขอให้ศาลออกคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 72 หากขอให้ศาลบังคับอย่างอื่นนอกเหนือจากในมาตรา 72 ก็ฟ้องคดีปกครองไม่ได้ คือเมื่อศาลปกครองไม่สามารถออกคำบังคับให้ได้ศาลก็จะไม่รับฟ้อง
ในคดีปกครองนั้นกฎหมายให้ประชาชนสามารถฟ้องเองได้โดยไม่ต้องมีทนายความเพื่อประหยัดค่าทนายความ ปรากฏว่าประชาชนคนหนึ่งฟ้องไม่เป็น เขียนด่าเจ้าหน้าที่ไว้ ขอให้ศาลเอาเจ้าหน้าที่ไปขังคุก เช่นนี้ศาลปกครองไม่สามารถรับฟ้องไว้พิจารณาได้เพราะศาลไม่มีอำนาจสั่งขังคุก ในมาตรา 72 ไม่ได้ให้อำนาจดังกล่าวแก่ศาลไว้ มีแต่เพียงในคดีอาญาเท่านั้นมิใช่ในคดีปกครอง ในคดีปกครองนั้นมีเพียงคำบังคับให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือรับผิดตามสัญญา หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ หรือออกคำสั่งตามที่เจ้าหน้าที่ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า แต่ไม่ให้อำนาจศาลในการสั่งขังคุกเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เมื่อคำขอบังคับดังกล่าวศาลไม่อาจออกคำบังคับให้ได้ก็รับฟ้องไว้ไม่ได้

3. เงื่อนไขตามมาตรา 42 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด”
กล่าวคือ ถ้ามีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะในขั้นตอนของฝ่ายบริหาร ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้จบกระบวนความเสียก่อน หากดำเนินการไปแล้วยังไม่ได้รับความพอใจจึงค่อยมาฟ้องศาลปกครองได้ ถือว่าศาลปกครองเป็นที่พึ่งสุดท้ายเท่านั้น หากมีที่พึ่งอื่นๆ ก่อนหน้านั้นก็ต้องดำเนินการตามนั้นก่อน เช่น ข้าราชการถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษทางวินัย ซึ่งถือว่าเขาได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคำสั่งดังกล่าว เขามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองก็จริงแต่ยังฟ้องไม่ได้ ทั้งนี้เพราะยังไม่ได้ทำการอุทธรณ์คำสั่งนั้นอันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่กฎหมายเฉพาะคือกฎหมายข้าราชการพลเรือนได้กำหนดกระบวนการขั้นตอนต่างๆ เอาไว้ ดังนั้น เขาจะต้องอุทธรณ์คำสั่งตามกฎหมายข้าราชการพลเรือนเสียก่อน หากยังไม่อุทธรณ์แล้วมาฟ้องศาลปกครองศาลก็จะไม่รับฟ้องเพราะขัดต่อมาตรา 42 วรรคสองนี้
เนื่องจากคำสั่งทางปกครองมีกฎหมายทั่วไปคือ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่ใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองทุกชนิด ในกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดเรื่องการอุทธรณ์คำสั่งเอาไว้ในมาตรา 44 และ 45 กล่าวคือ คำสั่งทางปกครองทุกกรณีถ้าไม่มีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในเรื่องการอุทธรณ์คำสั่ง (เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนมีกฎหมายข้าราชการพลเรือนบัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงวิธีการอุทธรณ์) ก็ต้องมาอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนี้เพราะถือเป็นกฎหมายทั่วไป โดยสรุปก็หมายความว่าคำสั่งทางปกครองทุกชนิดก่อนจะมาฟ้องศาลปกครองต้องอุทธรณ์ก่อนเสมอ หากผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของเจ้าหน้าที่มาฟ้องศาลปกครองทันทีโดยไม่อุทธรณ์ ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องเพราะขัดต่อมาตรา 42 วรรคสอง ดังกล่าวข้างต้น
การที่กฎหมายกำหนดเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้เป็นการเฉพาะนั้นไม่ได้มีเฉพาะในเรื่องการอุทธรณ์เท่านั้น ยังมีเรื่องการร้องทุกข์อีกด้วย เช่น ในกฎหมายข้าราชการพลเรือน หากข้าราชการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการออกคำสั่งของผู้บังคับบัญชา กรณีเป็นเรื่องการลงโทษทางวินัยต้องใช้วิธีการอุทธรณ์ แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องโทษทางวินัยต้องใช้วิธีการร้องทุกข์ ตามมาตรา 123, 124 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ เช่น ถูกย้ายไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการย้ายนั้นไม่ใช่การลงโทษทางวินัยจึงอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องใช้วิธีร้องทุกข์ ดังนั้น จะนำไปฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งไม่ได้หากยังไม่ได้ร้องทุกข์ก่อน แต่หากร้องทุกข์แล้วผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ยังยืนยันคำสั่งเดิม ข้าราชการผู้นั้นไม่พอใจจึงค่อยไปฟ้องยังศาลปกครองได้
ข้อสังเกต มาตรา 42 วรรคสอง ใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองเท่านั้น แต่ไม่ใช้บังคับกับกฎ เพราะกฎไม่มีกฎหมายทั่วไปบังคับไว้ว่าจะต้องอุทธรณ์ก่อน ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ออกกฎโดยไม่ชอบ เช่น กฎกระทรวง ก็สามารถฟ้องศาลปกครองทันทีได้เลยเนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติวิธีการแก้ไขเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนไว้โดยเฉพาะแต่อย่างใด จึงไม่เข้ามาตรา 42 วรรคสอง สามารถฟ้องศาลปกครองได้เลย
นอกจากนี้ เรื่องการทำละเมิดหรือผิดสัญญาทางปกครองก็ไม่มีกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องอุทธรณ์ก่อนเช่นกัน จึงสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์เช่นเดียวกัน มาตรา 42 วรรคสอง จึงไม่ใช้บังคับกับเรื่องละเมิดทางปกครองหรือผิดสัญญาทางปกครองด้วย

4. อายุความการฟ้องคดีปกครองหรือระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง เรื่องนี้บัญญัติอยู่ในมาตรา 49 - 52
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า “การฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น”
หมายความว่า การฟ้องให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองจะต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่ที่ผู้ฟ้องมีหนังสือถึงหน่วยงานทางปกครองไปแล้วไม่ได้รับการเยียวยาตามที่ต้องการ กรณีนี้เป็นการฟ้องคดีทั่วไป เช่น การฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ ไม่ใช่นับแต่วันที่มีคำสั่งลงโทษ เพราะคำสั่งดังกล่าวจะต้องอุทธรณ์ก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ผู้ฟ้องคดีก็ต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน (คือ 90 + 90) หลังจากยื่นหนังสือร้องขอให้ปฏิบัติตามหน้าที่แล้วไม่ได้รับหนังสือชี้แจงกลับ หรือได้รับแต่เห็นว่าไม่มีเหตุผล
เรื่องอายุความนี้มีข้อสังเกตอยู่ในมาตรา 50 ในเรื่องของการขยายอายุความ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า “คำสั่งใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ ให้ผู้ออกคำสั่งระบุวิธีการยื่นคำฟ้องและระยะเวลาสำหรับยื่นคำฟ้องไว้ในคำสั่งดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่ปรากฏต่อผู้ออกคำสั่งใดในภายหลังว่า ตนมิได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นดำเนินการแจ้งข้อความซึ่งพึงระบุตามวรรคหนึ่งให้ผู้รับคำสั่งทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีนี้ให้ระยะเวลาสำหรับยื่นคำฟ้องเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ผู้รับคำสั่งได้รับแจ้งข้อความดังกล่าว
ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่ตามวรรคสองและระยะเวลาสำหรับยื่นคำฟ้องมีกำหนดน้อยกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเวลาสำหรับยื่นคำฟ้องเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง”
ในวรรคสามค่อนข้างสำคัญ นักศึกษาจะเห็นว่าการออกคำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้รับคำสั่งทราบถึงสิทธิของตนด้วยว่า ถ้าไม่เข้าใจหรือเห็นว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องดำเนินการอย่างไร หรือฟ้องที่ศาลใด ในระยะเวลาเท่าใด ถ้าไม่แจ้งไว้ต้องมาแจ้งใหม่ อายุความก็ขยายออกไปเป็นหนึ่งปี กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนให้ผู้ออกคำสั่งแจ้งสิทธิให้ทราบเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมาย และคดีปกครองยังให้ประชาชนฟ้องคดีเองได้โดยไม่ต้องมีทนายความอีกด้วย

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 51 บัญญัติว่า “การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปี และการฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) ให้ยื่นฟ้องภายในห้าปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี”
หมายความว่า การฟ้องคดีเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดทางปกครอง ให้ชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) นั้นต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ส่วนการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองให้รับผิดตามสัญญาทางปกครองตาม (4) ต้องฟ้องภายใน 5 ปี ทั้งนี้ทั้งสองกรณีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ หรือภายใน 10 ปี นับแต่เหตุเกิด ซึ่งต่างจากการฟ้องให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งต้องฟ้องภายใน 90 วัน
ส่วนในมาตรา 52 เป็นการฟ้องเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลนั้นไม่มีอายุความ จะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้ เช่น การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับหนองน้ำสาธารณะ การฟ้องให้เพิกถอนการออกโฉนดของเจ้าหนักงานที่ดินที่ออกโดยผิดกฎหมายนี้สามารถฟ้องได้โดยไม่มีอายุความ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับสถานะบุคคลก็ฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความเช่นกัน นอกจากนี้ ในมาตรา 52 วรรคสอง กฎหมายยังกำหนดให้ศาลปกครองขยายอายุความได้เองหากเข้าเงื่อนไข คือหากมีการยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดการฟ้องคดีแล้ว แต่ศาลปกครองเห็นว่าคดีนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นๆ หรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลจะรับคดีไว้พิจารณาก็ได้

5) การฟ้องคดีปกครองจะต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 45 โดยการฟ้องคดีให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะกรณีที่ฟ้องให้ชดใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินในคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) (4) โดยเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2.5 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ก็มีการออกกฎหมายในภายหลังว่ากรณีที่ผู้ฟ้องไม่มีเงินก็สามารถขออนุญาตศาลเพื่อฟ้องคดีอย่างคดีอนาถาได้ ขึ้นกับว่าศาลจะอนุญาตหรือไม่

6) เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลและเงื่อนไขอื่นๆ
6.1 ห้ามการฟ้องคดีที่เป็นการฟ้องซ้ำ คู่กรณีเดียวกันจะนำคดีเดิมที่ศาลได้ตัดสินแล้วมาฟ้องอีกด้วยสาเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนไม่ได้ ศาลจะไม่รับฟ้อง
6.2 ห้ามการฟ้องซ้อน คือขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองนั้น คู่กรณีเดียวกันจะยื่นฟ้องคดีเดียวกันต่อศาลปกครองอีกไม่ได้ ศาลจะไม่รับฟ้องเช่นกันเพราะเป็นการฟ้องซ้อน
6.3 ห้ามการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หมายความว่า ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในประเด็นเกี่ยวกับคดีและศาลได้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนั้นไปแล้ว จะมาขอให้พิจารณาหรือขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องนั้นอีก ศาลก็จะไม่รับพิจารณาเช่นกันเพราะถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
6.4 การฟ้องเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กฎหมายฉบับนี้กำหนดว่า ถ้าการกระทำความผิดนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ ให้ฟ้องหน่วยงานแทน ถ้าฟ้องเจ้าหน้าที่ศาลจะไม่รับฟ้อง

---------------------------
ตัวอย่างคดีที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้
ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ศาลปกครองจะรับคดีไว้พิจารณาก็เฉพาะคดีที่อยู่ใน เขตอำนาจของศาลปกครองตามประเภทคดีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เท่านั้น
นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองกลางเปิดทำการ มีคดีที่ฟ้องต่อ ศาลปกครองกลางเป็นจำนวนมาก ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง ประเภทคดีที่ศาลปกครองกลางได้รับไว้ พิจารณา

1. คดีเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ออกคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- กำนันฟ้องนายอำเภอว่าออกคำสั่งพักหน้าที่ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ขอต่อทะเบียนรถยนต์ฟ้องกรมการขนส่งทางบกว่ากระทำละเมิดจากการ ส่งมอบป้ายภาษีรถยนต์ ปี 2544 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีล่าช้าเกินสมควร
- ผู้ยื่นคำขอมีสัญชาติไทยฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าปฏิบัติหน้าที่ ล่าช้าเกินสมควรในการพิจารณาคำขอมีสัญชาติไทยของตน

2. คดีเกี่ยวกับการพัสดุ สัญญาทางปกครอง
- ผู้เสนอราคาในการจัดซื้อรถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติฟ้องสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติว่าออกคำสั่งอนุมัติจัดซื้อรถยนต์ปฏิบัติการ ตรวจเก็บกู้วัตถุ ระเบิดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้รับจ้างงานก่อสร้างฟ้องเทศบาลตำบลในฐานะผู้ว่าจ้างว่าปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกิน สมควรในการตรวจรับงานจ้างก่อสร้างสะพานทางเท้าคอนกรีตเสริมเหล็กข้าม คลองวัดอุบลและคลองตัน
- ข้าราชการที่ลาศึกษาต่อฟ้องกรมว่าพิจารณาคำขอชดใช้ทุนการลาศึกษาต่อของผู้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้รับจ้างงานก่อสร้างฟ้องกรมการแพทย์ในฐานะผู้ว่าจ้างให้ชดใช้ค่าเสียหายกรณีตรวจรับงานจ้างล่าช้าเกินสมควร
- ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงานฟ้องคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลว่าออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันหนี้ค่าปรับที่ผู้ ฟ้องคดีค้างชำระตามสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและโครงการสื่อสันติภาพฟ้ององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยว่าออกคำสั่งอนุมัติให้ยูบีซีขึ้นค่าบริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็น สมาชิกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3. คดีเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและเหตุเดือดร้อนรำคาญ
- เทศบาลเมืองละเลยต่อหน้าที่ปล่อยให้มีการประกอบกิจการอู่เคาะพ่นสีรถยนอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ฟ้องคดีและประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
- องค์การบริหารส่วนตำบลออกคำสั่งอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากผู้ประกอบการซ่อมแซมปรับปรุงถังแก๊สฟ้องจังหวัดสมุทรปราการ ว่าละเลยต่อหน้าที่ไม่ระงับการกระทำของผู้ประกอบการที่ปล่อย กลิ่นแก๊ส ออกจากโรงงานและกระจายไปบริเวณใกล้เคียงสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ฟ้องคดี
- คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มีมติไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคาร โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

4. คดีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และการประกอบวิชาชีพ
- สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจ่ายเงินบำนาญล่าช้าเกินสมควร
- ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการฟ้องสถาบันเทคโนโลยีว่า กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีไม่เรียกผู้ฟ้องคดีบรรจุเข้ารับราชการ
- ผู้ถูกลงโทษทางวินัยฟ้องสำนักงานอัยการสูงสุดว่าออกคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ออกจากราชการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ขอกลับเข้ารับราชการฟ้องมหาวิทยาลัยว่าออกคำสั่งไม่รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีงดเบิกค่าเช่าบ้านและให้คืนเงินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสาขาโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย
- กองบัญชาการตำรวจภูธร ออกคำสั่งลงโทษทางวินัย โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- กรมสามัญศึกษาออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งถอดยศ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร คัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ-คณะกรรมการอาหารและยา
และตำแหน่งรองอธิบดีกรมต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- คณะกรรมการข้าราชการครูออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- กระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- มหาวิทยาลัยจ่ายเงินเดือนตกเบิกล่าช้าเกินสมควร
- ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีฟ้องสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าออกคำสั่งพักใบอนุญาตผู้สอบบัญชีของผู้ฟ้องคดี โดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย

5. คดีเกี่ยวกับที่ดิน
- สำนักงานที่ดินจังหวัดออก น.ส.ล. ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี
- ธนารักษ์จังหวัดขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอรับมรดกการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
- สำนักงานที่ดินจังหวัดละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอออกโฉนดที่ดิน
- นิคมสร้างตนเองจังหวัดและกรมประชาสงเคราะห์ละเลยต่อหน้าที่ไม่พิจารณาคำขอ เพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบ
- นายอำเภอละเลยต่อหน้าที่ปล่อยให้มีการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ และออกโฉนดในที่ดินสาธารณะ

6. คดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการกระทำละเมิด
- กรมการศึกษานอกโรงเรียนออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ฟ้องสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่ากระทำละเมิด โดยละเลยต่อหน้าที่ไม่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเก็บรักษาวัสดุกัมมันตรังสีและการจัดการกากกัมมันตรังสี
ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน
- เทศบาลนครดำเนินการถมที่ดิน ตอกเสาเข็ม สร้างเขื่อน และสร้างทางริมฝั่งแม่น้ำปิงตามโครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก ก่อให้ เกิดความเสียหายแก่บ้านพักอาศัยของผู้ฟ้องคดี

7. คดีเกี่ยวกับกิจการคมนาคม โทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
- ผู้สมัครเป็นกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติฟ้องขอให้เพิกถอนผลการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อ เพื่อแต่งตั้งให้เป็นกรรมการกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติของคณะกรรมการสรรหากิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
- ผู้ได้รับอนุญาตให้เดินรถสาย 478 นครปฐม-บ้านแพ้ว ฟ้องกรมการขนส่ง ทางบกว่ากำหนดเส้นทางเดินรถโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ประชาชนที่มีบ้านพักในหมู่บ้านจัดสรรฟ้องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าในการติดตั้งไฟฟ้าถาวรในหมู่บ้านจัดสรร
- ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการสรรหากรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติที่คัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แห่งชาติต่อวุฒิสภา

ตัวอย่างคดีที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ได้
โดยปกติ คดีที่เอกชนจะฟ้องต่อศาลปกครองนั้นได้แก่ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เนื่องจากการกระทำทางปกครองหรือการใช้อำนาจทางปกครอง ซึ่งในระยะแรกที่ศาลปกครองกลางเพิ่งเปิดทำการ ประชาชนอาจจะยังไม่ทราบได้แน่ชัดว่าเรื่องใดสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ และเรื่องใดที่ฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ ดังนั้นจึงมีคดีจำนวนหนึ่งที่ศาลปกครองกลาง ไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะเป็นกรณีที่น่าเห็นใจสักเพียงใดก็ตาม ซึ่งอาจสร้างความสงสัยและความคับข้องใจแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่บ้าง

คดีที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณานั้นได้แก่
1. เรื่องที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นประชาชนด้วยกัน ทั้งนี้ เนื่องจากกรณี ดังกล่าวไม่ใช่ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เช่น กรณีที่ฟ้องว่าเอกชนอีกรายหนึ่งได้ละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดี โดยการใช้ประโยชน์ในทางส่วนบุคคล (คดีหมายเลขแดงที่ 76/2544) เป็นต้น

2. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายไม่ถือว่าหน่วยงานเหล่านี้เป็น หน่วยงานทางปกครอง เช่น ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (คดีหมายเลขแดงที่ 1/2544) บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (คดีหมายเลขแดงที่ 25/2544) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (คดีหมายเลขแดงที่ 44/2544) เป็นต้น

3. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กระทำความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยการกระทำส่วนตัว มิใช่เป็นการกระทำในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจทางปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องว่า พลทหารอาสาสมัครบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินใน เคหะสถานของผู้ฟ้องคดี โดยมีสาเหตุเนื่องจากไม่พอใจกันเป็นการส่วนตัว (คดีหมายเลขแดงที่ 85/2544) เป็นต้น

4. เรื่องที่ข้อพิพาทเกิดจากสัญญาทั่วไป มิใช่สัญญาทางปกครอง อันได้แก่ สัญญาสัมปทานสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มี สิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นแม้ว่าคู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ก็ไม่อาจฟ้องคดียังศาลปกครองได้ เช่น กรณีที่ฟ้องว่าการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ให้เช่าซื้ออาคารได้โอนกรรมสิทธิ์การเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อเดิมไปให้ผู้เช่าซื้อใหม่โดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นภรรยาของ ผู้เช่าซื้อเดิมได้รับความเสียหาย (คดีหมายเลขแดงที่ 68/2544) กรณีที่ฟ้องว่ากรมป่าไม้ไม่คืนเงินที่ผู้ฟ้องคดีได้วางไว้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างประจำสถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสงทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้ ตรวจรับมอบงาน และจ่ายเงินค่าก่อสร้างครบทุกงวดแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ 69/2544) กรณีที่ฟ้องว่าวิทยาลัยการอาชีพ ขอนแก่นผิดสัญญากับผู้ฟ้องคดีเพราะยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาทำธุรกิจขายสินค้าในลักษณะเช่นเดียวกับร้านค้าสวัสดิการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เช่า ทำการค้าอยู่ (คดีหมายเลขแดงที่ 77/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว่า เทศบาลเมืองหนองคายไม่ยอมชำระหนี้ค่าจ้างทำอาหารเลี้ยง รับรองในงานเลี้ยงของเทศบาล แก่ผู้ฟ้องคดี (คดีหมายเลขแดงที่ 86/2544) เป็นต้น

5. เรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือศาลชำนาญพิเศษอื่นแล้ว เรื่องเช่นว่านี้จะไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องว่า เจ้าหน้าที่บังคับคดียึดและขายทอดตลาด ที่ดินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทุ่งสงโดยมิชอบ กรณีนี้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิยื่นคำร้อง คัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวได้ที่ศาลจังหวัดทุ่งสง (คดีหมายเลขแดงที่ 79/2544) กรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีแพ้คดีในศาลยุติธรรม เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่สามารถตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีซึ่งผู้ฟ้องคดี เห็นว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครสวรรค์ กรณีนี้ ศาลปกครองวินิจฉัยว่า กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งจึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (คดีหมายเลขแดงที่ 82/2544) กรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ความเป็นธรรม เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมวินิจฉัยว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีไม่ได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ การงาน จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับผลประโยชน์จากการประกันสังคมเพียงค่าปลงศพเท่านั้น กรณีนี้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า เนื่องจาก พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537ได้บัญญัติให้ผู้ที่ไม่พอใจในเรื่องเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงาน กรณีดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน (คดีหมายเลขแดงที่ 111/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว กรุงเทพมหานครประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ถูกต้อง กรณีนี้ศาลปกครอง วินิจฉัยว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลภาษีอากร (คดีหมายเลขแดงที่ 115/2544) เป็นต้น

6. เรื่องที่ขาดอายุความฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ ศาลปกครองเปิดทำการ เช่น กรณีของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็น ข้าราชการตำรวจได้ ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ จึงได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จนได้รับการลดโทษลงเป็นการปลดออกจากราชการ แต่ยังไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์ ดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลฟ้องคดีต่อศาลที่ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีจึงต้องฟ้องคดีต่อ ศาลยุติธรรม ภายในอายุความหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้ฟ้องคดี ต่อศาลยุติธรรมจนคดีขาดอายุความ ศาลปกครองก็ย่อมไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา (คดีหมายเลขแดงที่ 132/2544)

7. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการใดๆ ของพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งถือว่าไม่ใช่เป็นการ ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น การออกหมายจับของพนักงานสอบสวน (คดีหมายเลขแดงที่ 67/2544 และคดีหมายเลขแดงที่ 90/2544) การดำเนินการสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน (คดีหมายเลขแดงที่ 88/2544) หรือการดำเนินการสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาของพนักงานอัยการ (คดีหมายเลขแดงที่ 126/2544) เป็นต้น

8. เรื่องที่ประสงค์จะขอให้ศาลปกครองลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัยหรือทางอาญาเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องดังกล่าว เป็นอำนาจของ ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือของเจ้าหน้าที่อื่น ไม่ใช่อำนาจของศาลปกครอง และการดำเนินการลงโทษดังกล่าวก็ไม่มีผลเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายของผู้ถูกฟ้องคดี เช่น กรณีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญาแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต จังหวัดแพร่ (คดีหมายเลขแดงที่ 65/2544) หรือแก่เจ้าหน้าที่การรถไฟ แห่งประเทศไทย (คดีหมายเลขแดงที่ 72/2544) หรือแก่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (คดีหมายเลขแดงที่ 81/2544) เป็นต้น

9. เรื่องที่ความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีได้หมดสิ้นไปแล้วในขณะที่มายื่นคำฟ้อง หรือมีการได้แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้เสียแล้ว เช่น กรณีที่ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้จ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไว้แล้ว แต่ก่อนที่ศาลปกครองจะพิจารณา พิพากษาคดี ผู้ฟ้องคดีได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนที่มาฟ้องคดีไปเรียบร้อยแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่72/2544) หรือกรณีที่ฟ้องว่า นายอำเภอ บางไทรละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการกับผู้ซึ่งทำการดูดทรายในแม่น้ำ จนเป็นเหตุให้ที่สาธารณ-ประโยชน์และ ทางสาธารณะซึ่งติดกับวัดซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้รับความเสียหาย แต่ก่อนที่ ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาคดี บุคคลดังกล่าวได้เลิกประกอบกิจการดูดทราย ไปแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ 80/2544) เป็นต้น

10. เรื่องที่ผู้ฟ้องคดียังไม่ได้ใช้วิธีการแก้ไขเยียวยาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ยังมิได้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ตนไม่เห็นด้วยนั้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง หรือต่อเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ กรณีเช่นนี้ศาลปกครองยังไม่อาจรับ คำฟ้องไว้พิจารณาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายต้องการให้ผู้ฟ้องคดีใช้วิธีการ แก้ไขเยียวยานั้นก่อนที่จะฟ้องคดีต่อศาล เช่น กรณีที่ ผู้ฟ้องคดีไม่ได้อุทธรณ์หรือ โต้แย้งคำสั่งแต่อย่างใดเลย (คดีหมายเลขแดงที่ 105/2544 คดีหมายเลขแดงที่ 110/2544 คดีหมายเลขแดงที่ 129/2544 และคดีหมายเลขแดงที่ 133/2544) หรือกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไปแล้ว แต่ไม่รอทราบผลการพิจารณาคำอุทธรณ์นั้นเสียก่อน กลับรีบมาฟ้องยังศาลปกครอง กรณีเช่นนี้ศาลปกครองก็ไม่อาจ รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณาได้เช่นกัน (คดีหมายเลขแดงที่ 70/2544 และคดี หมายเลขแดงที่ 71/2544) เป็นต้น

11. เรื่องที่ฟ้องคณะกรรมการเลือกตั้ง ในเรื่องต่างๆ เช่น ฟ้องคดี เกี่ยวกับคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (คดีหมายเลขแดงที่ 14/2544) หรือฟ้องคดี เกี่ยวกับคำสั่งเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง (คดีหมายเลขแดงที่ 64/2544) เป็นต้น

12. เรื่องที่ฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรที่ออกคำสั่งเลื่อนตำแหน่งข้าราชการไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายเป็นเหตุ ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 7 ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเกษตรจังหวัดนั้น กฎหมายให้สิทธิแก่ผู้เสียหายที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ คือ กรมส่งเสริมการเกษตร แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรไม่ได้(คดีหมายเลขแดงที่ 81/2544)

13. เรื่องที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ทำการรับผิดชอบชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดที่เกิดจากการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างของหน่วยงานขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนรถของเอกชนเสียหาย หรือชนผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ นั้นต้องฟ้องคดีต่อศาล ยุติธรรม ไม่ใช่ศาลปกครองเนื่องจากศาลปกครองจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามกฏหมายหรือจากกฏหรือคำสั่งหรือละเลยต่อหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เท่านั้น
จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมักจะเข้าใจผิดว่าหากจะฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จะต้องมายื่นฟ้องยังศาลปกครอง แต่แท้ที่จริงแล้ว มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เรื่องบางเรื่องอาจต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรมเช่นเดิม และบางเรื่องผู้ฟ้องคดีจำเป็นต้อง ใช้วิธีการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของตนให้ครบ ขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเสียก่อนจึงจะมาฟ้องคดีได้ อย่างไรก็ตาม หากศาลปกครองได้พิจารณา คำฟ้องใดแล้ว เห็นว่า ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาให้ได้ ก็จะรีบแจ้งคำสั่งไม่รับ คำฟ้อง ไว้พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบ พร้อมแสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง เพื่อที่ผู้ฟ้องคดีจะได้ไปดำเนินการในทางอื่นต่อไป
--------------------------------

รายชื่อเพื่อนร่วมรุ่น พร้อมเบอร์โทร

รายชื่อ PAL. 8
นี่เป็นรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่นปริญญาโทของรุ่นพวกเราทั้งหมด หลังจากที่ได้จัดพิมพ์มาครั้งแรก ปรากฏว่ามี 2-3 ท่านที่พิมพ์ข้อมูลผิดพลาดไป ซึ่งผมก็ได้แก้ไขไปเรียบร้อยแล้วตามที่เพื่อนๆ ทักท้วงมา ก็ขอพระอภัยมณีมา ณ ที่นี้ด้วย

นายเอกชัย เกื้อทอง ต้น 0862877912 aekachai_tk@hotmail.com
น.ส. ฉัตรแก้ว ชมใจ อ้อง 0892233151 aung_c@hotmail.com
ส.ต.ต. หญิง สกิทา พูลบำเพ็ญ เจ๊ะ 0834023555 jazzcy_girl@hotmail.com
น.ส. จุฑามาศ คงพราหมณ์ รวงข้าว 0820711893 jutamas-ram2528@hotmail.com
น.ส. วีรินทร์ ณ วรรณเล ต่าย 0815868961 wee-rin@hotmail.com
นาย ไพบูรณ์ เสือนาค หน่อง 0850465367 roung_39@windowslive.com
น.ส. ฉัตรวลี วรามิตร ฝน 0870911467 fon__chat69@hotmail.com
ว่าที่ ร.ต. กิติกร จริยาคุณาพร ต้อง 0806061626 tong_F_KU65@hotmail.com
นาย สาโรจน์ เอี่ยมองค์ โอ 0819299276 sarote@hotmail.co.th
นาย นิพนธ์ วรกรรณ พนธ์ 0814414330 nipon.w@dol.go.th
น.ส. วานีตา เจ๊ะหลี ต้า 0831397755 nitta_949@windowslive.com
นาย พิทักษ์ สมนึก พิทักษ์ 0890546222 , 038-275061-9 กด 0 go.forom@hotmail.com
นาย พรเทพ เพ็งแก้ว เทพ 0848523298 water-hit@hotmail.com
นาย วัฒนา แสงโสดา เคน 0859797150 kenyagi@hotmail.com
น.ส. จิณต์ภัษ กุลธนานนท์จรัส แนน 0858427090 nan.anothai@hotmail.com
นาย ศิริชัย กัลยาณกิตติ แบงค์ 0895556859 sirichai9295@hotmail.com
นาย ธนบดี เรืองอุไรฤกษ์ แชมป์ 0868460774 yokyungjin@hotmail.com
ส.ต.ท. สุธีร์ สุบรรณกูล ธีร์ 0892161005 sutee33@windowslive.com
ร.ต.ต. สันติภาพ สุคนธประดิษฐ เบิร์ด 0892578069 santy_star@hotmail.com
นาย คชกริช ศัลย์วิเศษ แบล็ค 0869830647 backy12003@hotmail.com
จ.ท. ภูภวะ สำเร็จผล ปอ 0891642025 phuphawa@hotmail.com
นาย เศรษฐวุฒิ จันทร์วัฒนะ เบิล 0838255491 bubble_destiny@hotmail.com
นาย ศักดิ์ชัย ขำเจริญ ศักดิ์ 0890399525 haleruya_tong@hotmail.com
ร.ต.ท. ทศพร หงษ์ทอง หมวดแบงค์ 0899869190 todsaporn96@gmail.com
น.ส. จิราพร ธาดาพงษ์ กิ๊ฟท์ 0859640623 gift_sky@hotmail.com
นาย ขวัญชัย เพียคุณา ขวัญ 0894848789 chaiyo_hohil@hotmail.com
นาย อภิชาติ พัวขำ บอม 0851424855 apichart-bomb@hotmail.com
นางรัชตา ธัญฉัตรมงคล ไก่ 0852093476 ratchata_kai@hotmail.com
นาย ประเสริฐ ฉัตรไชยพฤฏษ์ เสริฐ 0836000113 prasert531@hotmail.com
น.ส. วรรณพร บุญโทน จิบ 0849761297 jib.119@hotmail.com
น.ส. วัชรา นิลแสง แบลล์ 0896982451 watchara12@hotmail.com
นาย อติชาติ วิโนทัย จอย 0818193751 a_vinotai@hotmail.com
น.ส. ธัณย์สิตา วรรัฐกิตติ์กุล รุ่ง 0870648244 thansita2007@hotmail.com
จ.ส.ต. หญิง อันธิกา งามวิลัย เล็ก 0870161381 ngamvilai_2009@hotmail.com
จ.ส.ต. หญิง ฐิติกานต์ สังข์ขาว จิตร 0813066560 tithigarn@hotmail.com
นาย ไตรภพ สุวรรณสุภา ไตรภพ 0823252658 traipope@gmail.com
น.ส. วชิรญาณ์ ปัญญฤทธิ์ กุ๊ก 0860466021 kookbkk@hotmail.com
ด.ต. สุริยา ศรีเมือง ยา 0863192933 sry9399@hotmail.com
นาย วรวิทย์ โฉมรักษ์ เอ 0825829496
นาย ณัฐพล ไตรนาค แชมป์ 0812996090 c-hamp99@hotmail.com




.

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

Blog สำหรับนักศึกษา PAL รุ่น 8

ยินดีต้อนรับ นศ. PAL รุ่น 8
เว็ปบล๊อคนี้เป็นเว็ปบอร์ดวิชาการ

ยินดีต้อนรับ Blogger สำหรับเพื่อน PAL (RU) รุ่น 8

Blog นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเว็บบอร์ดข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท การบริหารธุรกิจและกฎหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่น 8

จัดทำโดยทีมงานฝ่ายวิชาการ
ไตรภพ สุวรรณสุภา