วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวคำตอบวิชา LP 610

สวัสดีคับ
ผมส่งแนวการตอบคำถามที่อาจารย์ให้มา จำนวน 3 ข้อ มาเป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปใช้ในการตอบข้อสอบ บางช่วงบางตอนอาจจะซ้ำกันหน่อย ก็ก็ถือว่าเป้นการเน้นก็แล้วกัน

ขอให้โชคดีในการสอบทุกคน



มี 3ข้อ เลือก ทำ 2 ข้อ

ข้อ 1. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่มาของนโยบายสาธารณะและทฤษฎีใดใช้อธิบายสังคมไทยเป็นอย่างดี...
ตอบ อ่านบทที่ 1
ตอบ
1) ทฤษฎีชนชั้นนำ เป็นการกำหนดนโยบายแนวดิ่ง (Topdown Policy) คือนโยบายที่มีการตัดสินใจซึ่งขึ้นอยู่กับผู้นำเพียงคนเดียว ซึ่งการแก้ปัญหาอาจไม่สามารถทำได้หรือไม่สามารถแก้ปัญหาของภาคปะชาชนได้ ทั้งนี้เพราะนโยบายที่ออกมาส่วนมากจะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่ออก
2) ทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ เป็นการเรียกร้อง รักษาสิทธิ์ ผลประโยชน์ และผลักดันจากกลุ่มผลประโยชน์ คือภาคประชาชน เป็นการกำหนดนโยบายแนวราบ
3) ทฤษฎีระบบการเมือง เป็นระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมืองกับสภาพแวดล้อม
4) ตัวแบบเชิงสถาบัน เชื่อว่านโยบายเป็นผลผลิตของสถาบัน ระบบราชการมีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้เพราะช้าราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) รู้ข้อมูล ควบคุมข้อมูล และรู้ระเบียบแบบแผนและข้อกฎหมายเป็นอย่างดี จึงทำให้ข้าราชการมีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบาย


ทฤษฎีที่ใช้อธิบายสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ในสมัยก่อนทฤษฎีตัวแบบสถาบันน่าจะอธิบายสังคมไทยได้ดีกว่าเนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการกำหนดนโยบายของประเทศหรือกำหนดนโยบายในโครงการต่าง ๆ นั้น จะถูกกำหนดโดยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ข้าราชการเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายในการดำเนินงาน รวมถึงการกำหนดโครงการต่าง ๆ ขึ้นมา แล้วนำไปให้นักการเมืองเพื่อกำหนดเป็นนโยบายขึ้นมาและใช้ในการบริหารประเทศต่อไป แต่ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนไปเนื่องจากกลุ่มการเมืองมีอำนาจมากขึ้น สามารถควบคุมและโยกย้ายข้าราชการได้ และวางนโยบายในการบริหารประเทศ ตลอดจนกำหนดโครงการต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าในปัจจุบันทฤษฎีที่น่าจะนำมาใช้อธิบายสังคมไทยได้ดีก็คือ ทฤษฎีกลุ่มการเมือง นั่นก็คือ ทฤษฎีระบบการเมือง คือฝ่ายการเมืองจะเป็นผู้ที่ทำหน้ที่กำหนดนโยบาย ส่วนข้าราชการประจำจะทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันในสังคมไทยก็มิใช่ว่ากลุ่มการเมืองจะมีอิทธิพลแต่เพียงกลุ่มเดียว กลุ่มอำนาจในสังคมไทยยังผูกโยงกับพ่อค้า นายทุน และกลุ่มชนชั้นสูงหรือกลุ่มศักดินาดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มทหาร ซึ่งจัดว่าเป็นชนชั้นสูงของสังคมไทย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการกำหนดนโยบายของไทยถูกกำหนดโดยชนชั้นสูง ดังนั้น ทฤษฎีที่น่าจะนำมาอธิบายสังคมไทยได้ก็น่าจะรวมถึงทฤษฎีนี้ด้วย กล่าวคือ ทฤษฎีชนชั้นนำ


ข้อ 2. จงวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะที่สำคัญตามที่ได้ศึกษามา และท่านคิดว่ากระบวนการใดสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด
ตอบ อ่านบทที่ 3, 4, 6, 7, 8
นโยบายสาธารณะ คือนโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม สนองความต้องการของประชาชนและแก้ปัญหาให้แก่ประชาชน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจัยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีกลไกการบริหารของภาครัฐที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) (เช่น เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรของแผ่นดินที่มีความโปร่งใส มีความชอบธรรม มีการกระจายอำนาจ มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความรับผิดชอบสูง และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน) และมีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้วย
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรัฐศาสตร์ เนื่องจากนโยบายสาธารณะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเมือง เพราะฝ่ายการเมืองทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ข้าราชการประจำทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ


1. การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนแรกของการกำหนดนโยบาย เป็นการผลักดันปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้เป็นนโยบายของรัฐ

การกำหนดนโยบาย เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผักดันปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้เป็นนโยบายของรัฐเพื่อแก้ปัญหา
กระบวนการพัฒนานโยบายมี 6 ขั้นตอน ดังนี้


1) ปัญหาทั่วไป
2) ปัญหาของสังคม
3) กำหนดเป็นประเด็นปัญหา
4) ข้อเสนอของสังคม
5) ข้อเสนอของรัฐบาล
6) นโยบาย

การกำหนดนโยบาย เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผักดันปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้เป็นนโยบายของรัฐเพื่อแก้ปัญหา

ในสังคมไทย กระบวนการนโยบายมักจะถูกกำหนดโดยข้าราชการ ซึ่งเป็นลักษณะของการกำหนดนโยบายในแนวดิ่งหรือจากบนมาล่าง (Top Down) กล่าวคือนโยบายสาธารณะเกิดจากผู้บริหารระดับสูงของรัฐ
นโยบายที่ดี ควรเป็นนโยบายในแนวราบหรือเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่รวมตัวกันในรูปของประชาคม ร่วมกำหนดปัญหา ประเด็นนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในสังคม กล่าวคือถ้าเป็นการกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่น ก็ควรเปิดให้ประชาชนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของชุมชน ซึ่งเป็นไปตาม รธณ. ปี 2540

อนึ่ง การเข้ามีส่วนร่วมชองชุมชนในการกำหนดนโยบาย มีหลายวิธี เช่น
(1) กระบวนการ A-I-C คือกระบวนการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น

A = Appreciation คือขั้นตอนการรับรู้ เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อหาข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับ


I = Influence คือการนำความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมประชุมมากำหนดเป็นโครงการตามความต้องการของชุมชน
C = Control คือขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ประสงค์ จะปฏิบัติอย่างไร โดยใคร ใครเป็นู้รับผิดชอบ
กระบวนการ A-I-G จะกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนพัฒนาท้องถิอ่น

(2) กระบวนการไต่สวนสาธารณะ (Public Hearing) คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอโครงการก่อนที่จะมีการอนุมัติ ซึ่งถือว่าเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างหนึ่ง
- กำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
- ตั้งคณะกรรมการไต่สวน (ต้องไม่เป็นข้าราชการและไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น)
- กำหนดวันเวลาและสถานที่แน่นอน
- มีการรับลงทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ
-
เมื่อเสร็จกระบวนการ Hearing คณะกรรมการก็จะลงความเห็นและติดประกาศให้สาธารณชนทราบ เพื่อเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านได้

สรุป การพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดีจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ให้เสรีภาพแก่ผู้คนในสังคมได้มีส่วนร่วมทางการเมือง มีกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมจากประชานที่มีความรู้และปัญญา เพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก


2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
เมื่อมีการกำหนดนโยบายแล้ว ภาครัฐจะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติหรือบริหาร เพื่อให้บรรลุผลเป้าหมายที่ต้องการ กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างย่งเพราะทำให้เกิดผลในการปฏิบัติ
กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัตินี้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่ปับปัจจัย
- เป้าหมายและมารฐานของนโยบาย
- ทรัพยากรสื่อสารติดต่อระหว่างผู้ปฏิบัติ
- การควบคุมการปฏิบัติงาน
- ลักษณะของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ
- สภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
- ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ



3. การประเมินผล (Policy Evaluation)
เป็นกระบวนการวัดและประเมินความสำเร็จของนโยบาย ทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล การประเมินผลควรนำเทคนิคทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เป็นระบบมาช่วยประเมินผล
การประเมินที่มีประสิทธิผล เป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลได้/ผลกระทบ (Outcome) กับวัตถุประสงค ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในโครงการหรือไม่ เช่น มีการกำหนดนโยบายว่าต้องการให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มปีละ 5,000 บาทต่อปี/หัว ดังนั้น เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว ก็ต้องมีการประเมินผลว่ารายได้ของประชาชนได้เพิ่มขึ้นตามที่วางเป็นนโยบายหรือไม่



4. การยุติหรือล้มเลิกนโยบาย (Policy Termination)
การยุติหรือล้มเลิกนโยบายเป็นกระบวนการสุดท้ายของกระบวนการนโยบาย จะเกิด
ขึ้นก็ต่อเมื่อนโยบายไม่ประสบผลสำเร็จ หรือไม่มีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล หรือไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ด้วยเหตุผลต่างๆมากมาย ทั้งในด้านการเมืองและกฎหมาย


สรุป
กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะสร้างกระบวนการทางสังคมในการผลักดันนโยบายให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ระบบการเมืองที่ให้เสรีภาพประชาชนโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐ และระบบราชการต้องไม่ผูกขาดอำนาจในการกำหนดและตัดสินนโยบายยอมรับความต้องการที่มีความหลากหลายและแตกต่างซึ่งไม่ใช่ปัญหาเชิงนโยบาย การวิเคราะห์นโยบายต้องศึกษาให้ลึกและรู้จริงมากกว่าเพียงการรับรู้ ความเป็นธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ต้องเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐ



ท่านคิดว่ากระบวนการใดสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด
การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นขั้นตอนหนึ่งของวงจรในทางนโยบาย เพราะความสำเร็จของนโยบายนั้นขึ้นอยู่กับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี
มีฐานคิดดังนี้
นโยบายเกิดขึ้นเพื่อการแก้ปัญหาในสังคม สร้างสังคมที่เป็นสุขบนฐานคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงต้องอยู่บนฐานของความรู้นำและพัฒนาสังคมให้มีคุณธรรม มีจิตสำนึกร่วมคิด ร่วมทำและร่วมแก้ปัญหาของสังคม ส่วนใหญ่ปัญหาจะนำนโยบาย นโยบายจะนำปัญหาในสังคมที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและคุณค่าของมนุษย์มากกว่ามูลค่าทางวัตถุ คำนึงถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ทั้งผู้รู้ ปราชญ์ องค์กร วัฒนธรรมเป็นต้น
นโยบายไม่แก้ปัญหาแต่สร้างปัญหา ในยุคที่รัฐบาลรวมอำนาจจะกำหนดนโยบายที่สร้างเสถียรภาพทางการเมือง สร้างการพัฒนา ความเจริญเติบโตทางวัตถุ จำกัดการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำกัดหลักนิติธรรม คุณธรรมและความโปร่งใส จำกัดในมิติความรู้ การสร้างและพัฒนาคุณภาพ จริยธรรมและจิตวิญญาณในระดับรากแก้วที่จะร่วมแก้ปัญหาสังคมจากแนวความคิดและปรัชญาพื้นฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 – 7 แม้ว่าได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดของการมีส่วนร่วมและคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในฉบับที่ 8 เป็นต้นมาก็ตาม แต่ความยากจนยังคงเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน นโยบายที่ผ่านมากว่า 40 ปี ไม่สามารถแก้ปัญหาในระดับพื้นฐานระยะยาว
กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเป็นกระบวนการทางสังคม ผู้คนในสังคมต้องมีส่วนร่วม มองเห็นปัญหา ขับเคลื่อนให้สังคมเห็นเป็น ปัญหามหาชน เพื่อให้รัฐเข้ามาแก้ไขโดยกำหนดเป็นนโยบายที่ตอบสนองความต้องการและปัญหาของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระบบการเมืองแบบเปิด รัฐไม่ผูกขาดอำนาจข้าราชการ ต้องทำงานและอดทนในการรับรู้ความต้องการและความหลากหลายในความคิด ผู้เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์นโยบายและตัดสินนโยบายต้องตั้งอยู่บนฐานความรู้และปัญญาที่เปิดกว้าง เห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แม้ผู้มีส่วนได้เสียเป็นคนกลุ่มน้อยต้องให้ความเป็นธรรมและเอื้ออาทรต่อกลุ่มคนเหล่านั้น ไม่อ้างประโยชน์คนส่วนใหญ่บนภาระและความทุกข์ทรมานตลอดชีวิตของคนส่วนน้อย




ข้อ 3. กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีเป็นกระบวนการเชิงจริยธรรม ยกตัวอย่างนโยบายที่ท่านศึกษามา
ตอบ อ่านบทที่ 5
จริยธรรม คือหลักในการควบคุมระบบค่านิยมของบุคคลให้ดำเนินไปตามแนวทางที่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม หลักจริยธรรมกำหนดมาจากมาตรฐานของสังคม เช่น ความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความถูกต้อง ความชอบธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของแต่ละบุคคลในสังคมยึดเป็นวิถีปฏิบัติในสังคม เป็นหัวใจในการปกครองบ้านเมือง ฉะนั้น จริยธรรมจึงเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมให้การใช้ดุลพินิจอยู่ภายใต้ประโยชน์สาธารณะ (สรุป จริยธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความดี ความชั่ว ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้องของการประพฤติของแต่ละสังคม และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมนั้นๆ)
จริยธรรมที่สำคัญของนักวิเคราะห์หรือผู้กำหนดนโยบายต้องคำนึงถึง ก็คือเพื่อประโยชน์สาธารณะ คือเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสังคมหรือประโยชน์แก่ชุมชนโดยรวมเป็นสำคัญ (กล่าวคือเน้นประโยชน์สุขของคนในสังคม ไม่เน้นเงินทอง) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของชนกลุ่มน้อยด้วยเช่นกัน มิเช่นนั้นแล้ว คนส่วนน้อยก็จะถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับความยุติธรรมจากสังคม
ข้าราชการที่มีคุณธรรม/ จริยธรรม คือข้าราชการที่ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ผู้ปกครองที่มีคุณธรรม/ จริยธรรม คือผู้ปกครองเป็นเสือนต้นไทรที่คอยคุ้มครองให้ความสุขแก่มวลชน
จริยธรรมที่สำคัญในทางนโยบาย คือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

นโยบายสาธารณะที่ดีควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและคุณค่าของมนุษย์มากกว่ามูลค่าทางวัตถุ กระบวนการนโยบายต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของธรรมมะและจริยธรรม จึงจะทำให้บ้านเมืองสงบสุช หากกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการที่ไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีธรรมะ ไม่มีฐานจริยธรรม สังคมจะไม่มีความสงบสุข
ค่านิยมและหลักจริยธรรมมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์นโยบาย กล่าวคือในการกำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์หรือผู้ที่กำหนดนโยบายควรยึดหลักจริยธรรมในการกำหนดนโยบายบนรากฐานของเหตุผล คือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ในทางตรงกันข้าม ถ้านักวิเคราะห์หรือผู้กำหนดนโยบายไร้ซึ่งจริยธรรม นโยบายก็จะถูกบิดเบือนและประชาชนก็จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจที่ไร้จริยธรรม
ถ้าผู้นำทางการเองขากจริยธรรม อาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดได้ เช่นฮิตเล่อร์ ผู้นำประเทศเยอรมัน และพอลพต ผู้นำประเทศกัมพูชา


จริยธรรม
จริยธรรมต่อนโยบายสาธารณะ คือการกำหนดนโยบายของภาครัฐโดยมีเป้าหมายสำคัญ
ในการนำนโยบายสาธารณะนั้นไปบริหารจัดการเพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ความปลอดภัย มีกินมีใช้ มีการศึกษา มีบริการด้านสาธารณะสุขที่เดียงพอ มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีวัฒนธรรมที่เหมาะสมและดีงาม มีคมนาคมขนส่งสะดวกปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งความหมายของคำว่า
จริยธรรม คือ สิ่งที่พึ่งประพฤติจะต้องประพฤติ ส่วนศีลธรรม หมายถึงสิ่งที่ดีงามตาม
หลักธรรม จริยธรรมก็คือสิ่งที่ประพฤติที่ดีงามตามหลักธรรม จริยธรรมนั้นอยู่ในรูปแบบของปรัชญา คือสิ่งที่จะต้อง นึก คิด จริยธรรมเป็นหลักแห่งความประพฤติของด้วยหลักธรรมเป็นเรื่องมาตรฐานของความประพฤติหรือหลักที่ได้รับการยกย่องว่าถูกต้องดีงาม ซึ่งจริยธรรมนโยบายสาธารณะคือ การนำนโยบายสาธารณะไปบริหารจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่พึ่งมีต่อสารธารณะโดยถูกต้องเหมาะควรคือ1.มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คือบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ประหยัด คุ้มค่าภาษีอากร 2. โปร่งใน ตรวจนอบได้ 3. มีความรับผิดชอบต่อการบริหารงาน4.มีมาตรฐานในการดำเนินงาน 5.ต้องทันสมัย รู้เท่าทัน มองการณ์ไกล 6.ต้องมั่นคง แข็งแรง และยืนหยัดเคียงข้างประชาชนโยยึดถือความถูกต้องยุติธรรมและเป็นธรรม

นโยบายสาธารณะที่ดีคือนโยบายที่มีจริยธรรมเช่น
นโยบายบริหารที่ดีของรัฐ (Good government) โปร่งใส ชอบธรรม กระจายอำนาจ มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ ความเสมอภาคเท่าเทียม หรือนโยบายที่ประชาชนมีส่วนร่วม




ยกตัวอย่างนโยบายที่ท่านศึกษามา นโยบายสาธารณะในสังคมปัจจุบันไม่ได้นำไปสู่การสร้างสังคมที่มีคุฯธรรม จริยธรรม ดังจะเห็นได้จากนโยบายการเปลี่ยนสภาพการพนันของหวยใต้ดินที่ผิดกฎหมายเป็นหวยบนดินที่ถูกกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเป็นนโยบายที่สร้างความเสื่อมถอยทางจริยธรรม การใช้อบายมุขเพื่อสร้างความเอื้อาทร ความเมตรากรุณาแก่คนจน ไม่

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กำหนดวันสอบ LP 610 แล้ว

จากการเลื่อนสอบวิชา LP 610 เพราะมีเหตุการณ์ไม่สงบ ขณะนี้ทางมหาวิยาลัยได้กำหนดวันสอบใหม่แล้ว คือวันที่ 29 พฤษภาคม นี้ เวลา 9:00 -12:00 น.

สอบเสร็จ ตอนบ่ายก็จะเรียนวิชาใหม่นะครับ

หมายเหตุ
เพื่อนๆคนไหนมีแนวคำตอบเกี่ยวกับการสอบวิชา LP 610 อยากเอามาแชร์กับเพื่อนๆ อีเมลล์มาได้นะครับ

ขอบคุณหลายเด้อ

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ช่วยกัน

เพื่อน นศ. ที่มีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับข้อสอบวิชา ต้องการเผื่อเพื่อนๆ ช่วยอีเมลล์มาด้วยนะครับ

ข่าวด่วน ...... เลื่อนสอบ

เนื่องจากมีเหตุการ์เกิดขึ้นที่บริเวณหน้ามหาวิทยายรามคำแหง โดยเมื่อคืนวันที่ 17 พ.ค. ทางกลุ่ม นปช.ได้มาตั้งเวทีปราศัย แต่ถูกกลุ่มเสื่อเหลืองมารบกวน มีการยิงปืนใส่กลุ่มเสื้อแดง เป็นผลให้เสื้อแดงเสียชีวิต 3 คน และวันนี้ได้มีตำรวจนับร้อยมาคอยดูแลสถานการณ์ ทางมหาวิทยาลัยจึงขอเลื่อนการสอบ! ในรายวิชากำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ วันที่ 21 พ.ค. 53 อย่างไม่มีกำหนด

ช่วยบอกต่อด้วยนะครับ กำหนดวันสอบเมื่อไหร่จะเเจ้งให้ทราบอีกที

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553