วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อมูล LP 612 ล่าสุด

องค์การและนวตกรรมในองค์การ LP 612
อ. พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ ออก 50 %
อ. อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี ออก 25%
อ. ปิยะนุช เงินคล้าย ออก 1 ข้อ (25 %)
ผิดถูกประการใด โปรดเต็มใจรับในผลกรรมนั้น


อ.พงสัณฑ์
แนวคิด ทฤษฎี นักวิชาการในเรื่องโครงสร้าง
อ. ให้แนวคำถามมา ข้อสอบจะออกในเรื่องโครงสร้างขององค์การ โดยให้ยกนักทฤษฏี 3 ยุค คือในยุค Classic, Neo-Classic หรือยุคมนุษยสัมพันธ์ และยุคร่วมสมัย ซึ่ง อ. ให้จำมา 5 ท่านพร้อมแนวคิดของแต่ละท่าน ทฤษฎีที่เขานำเสนอเป็นประโยชน์อย่างไร ให้อธิบาย
1. นักทฤษฏี (หรือนักวิชาการ) องค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นทฤษฏีองค์การและการบริหารตามแนวคิดสมัยเก่า เน้นในเรื่องของโครงสร้าง กระบวนการ มีความเชื่อว่ามีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานใดๆมีเพียงวิธีเดียว (One Best Way) จึงต้องมีการค้นคว้าเพื่อหาวิธีธีการที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักบริหารที่ต้องอาศัยหลักเหตุผลในการค้นคว้าเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด
ความเชื่อของกลุ่มคลาสสิก
-เชื่อในหลัก One Best Way คือหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดให้กับงาน เน้นในเรื่องของการมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ถ้าโครงสร้างดี กระบวนการดี ทุกอย่างก็จะดีหมด
- มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน เน้นหลักแห่งเหตุผลและความแน่นอน
- มีการกำหนดแผนงานหลักเพื่อดำเนินการ
- มองแต่ตัวองค์การ ไม่สนปัจจัยภายนอกองค์การ
- มองคนในองค์การแบบทฤษฎี X
จึงถือได้ว่าเป็นการศึกษาและจัดองค์การตามวิธีการของระบบปิด (Closed System Strategy)

ระบบปิด (Closed System) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด เชื่อในหลัก One Best Way (มีวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว) การศึกษาจะตัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการบริหารออกไป คงเหลือเฉพาะความแน่นอนในการบริหารงานเท่านั้น
ระบบเปิด (Open System) ให้ความสำคัญกับหลักของความพอใจ หลักความสมดุลย์

สรุป ความเชื่อของกลุ่มคลาสสิก เป็นไปตามทฤษฏี X คือ
- เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่ชอบการทำงาน พยายามหลีกเลี่ยงการทำงาน แต่ถ้าต้องการใก้มนุษย์ทำงานแล้วต้องใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจมาล่อ เช่น ให้เงินรางวัล
- มนุษย์ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน จึงต้องใช้มีกฎ ระเบียบวินัยมาเป็นตัวกระตุ้นหรือลงโทษ ให้บุคคลมาทำงาน

กลุ่มคลาสสิกแบ่งนักทฤษฏีออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ มี Frederick w. Taylor,Hennry L. Gantt, Gilbreths, Cooke เป็นกลุ่มนักวิชาการที่นำเสนอผลงานต่างๆ ซึ่งมีความสนใจการทำงานที่อยู่ในระดับล่าง ระดับการควบคุมงาน ศึกษาเกี่ยวกับ
- ศึกษารายละเอียดของการทำงานในระดับการปฏิบัติงาน
- พิจารณาถึงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
- วิเคราะห์วิธีทำงาน
- ตั้งมาตรฐานของงาน
- กำหนดกฏ ระเบียบและวิธีในการทำงาน
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแบบแผนที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือใช้หลักเหตุผล ทดลอง รวบรวมและจดบันทึกข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ สรุป และประเมินผล เพื่อค้นหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (One Best Way)

Taylor
- มองว่าคนชอบหลีกเลี่ยงการทำงาน ชอบหนีงาน
- ต้องใช้เงินเป็นสิ่งจูงใจให้คนทำงาน
- คิดระบบค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น (Piece Rate System)
- ทำงานโดยยึด กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่องค์การกำหนดขึ้นในการทำงาน
-ใช้วิธีการจัดการแบบวิทยาศาตร์ คือ การทดลอง
ผลงานที่สำคัญของ Frederick w. Taylor เช่น ผลงานที่ให้ค่าจ้างต่อชิ้น ระบบเงินโบนัส
ผลงานของ Hennry L. Gantt เช่น การทำงานแบบ Gantt chart หรือการทำงานแบบกิจวัตร

กลุ่มที่ 2 กลุ่มนักทฤษฎีระบบราชการ
ระบบราชการ หมายถึงระบบองค์การขนดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยโครงสร้างของการบริหารภายในที่สลับซับซ้อน โดย Max Weber เสนอตัวแบบในสำนักงานแบบอุดมคติ ทำให้เกิดโครงสร้างรูปปิรามิด
ระบบราชการในอุดมคติของ Max Weber
- ให้ความสำคัญกับสายการบังคับบัญชา
- มีการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ที่ชัดเจน
- มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นทางการ
- ยึดการแบ่งงานกันทำ มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
- คัดเลือกคนเข้าทำงานโดยใช้ระบบคุณธรรม (Merit System)

กลุ่มที่ 3 กลุ่มทฤษฎีการบริหาร กลุ่มนักทฤษฎีผู้บริหารจะพูดถึงหน้าที่ของผู้บริหาร เช่นหลัก POSDCORB เสนอโดย Gulick หรือมีการแบ่งงานกันทำภายในองค์การ แบ่งเป็น Line เป็นStaff คือ โครงสร้างในองค์การ อาจจะแบ่งหน้าที่ออกเป็น ๒ ด้าน


Henry Fayol นักทฤษฎีการบริหาร : POCCC หลักการบริหารที่ดี
- แบ่งงานกันทำตามความถนัด
- มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
- มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
- มีสายการบังคับบัญชา
หลักขององค์การและการจัดการของ Fayol มีความคล้ายคลึงกับทฤษฏีระบบราชการของ Weber มาก
ที่ต่างจาก Max Weber
เน้นประโยชน์ขององค์การเป็นหลัก
ยอมให้คนในองค์การเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างความจงรักภักดี
สายการบังคับบัญชา Hierarchy ส่วน Fayol ใช้ Scalar Chain

2. ยุค Neo Classic หรือยุคมนุษยสัมพันธ์ – ให้ความสำคัญที่โครงสร้าง และระบบงานในองค์การน้อยลง แต่กลับหันมาพูดถึงบุคลาการในองค์การเป็นหลัก ทั้งด้านพฤติกรรมของคน กลุ่มคนในองค์การมากขึ้น มองว่าคนต้องการความผูกพันธ์ มองว่ามนุษย์มีชีวิตจิตใจซึ่งคิดว่าพวกคลาสสิกไม่ให้ความสนใจกับบุคลากรในองค์การ ซึ่งทำให้เกิดการเอาแบบทดสอบ ใช้หลักจิตวิทยาในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน และพวกนี้ก็เชื่อว่ากลุ่มนั้นมีผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เสนอให้มีการทำงานเป็นทีม เชื่อว่าในธรรมชาตินั้นมนุษย์ชอบทำงาน เชื่อในทฤษฎีวาย เกิด “Management by Objective” การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ ให้เกิดสิ่งจูงใจที่เราเรียกว่า “Internal motivation” Internal motivation เกิดจากทฤษฎีทำHerbert Simon ได้ไปวิจัยและพบว่า สิ่งจูงใจที่Taloyได้นำเสนอนั้นเป็นเพียงสิ่งจูงใจภายนอก Herbert Simonเรียกมันว่า ปัจจัยค้ำจุน
และมีปัจจัยอยู่พวกหนึ่งที่พวกคลาสสิกไม่สนใจ เช่น การเป็นยอมรับนับถือของเพื่อน โอกาสที่จะทำงานสำเร็จ หรือการทำงานได้ดีนั้นน้อย สิ่งเหล่านี้มันเป็นปัจจัย Internal Factors หรือปัจจัยภายใน ที่ผู้บริหารจัดให้โดยตรงไม่ได้ แต่มันเป็นตัวจูงใจให้คนอยากที่จะทำงาน แต่คุณจะไปสู่จุดเหล่านี้ได้นั้น คุณต้องเปิดโอกาส เช่น ให้เขาได้มาเรียนหนังสือ ให้เขาได้มีโอกาสเป็นที่ยอมรับ มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าเขามีโอกาสเข้าจะทำสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบนีโอคลาสสิก
นีโอคลาสสิกยังศึกษาเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล เช่นบุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ รวมทั้งเกี่ยวกับทฤษฎีความต้องการของ Maslow ซึ่งอยู่ในยุคของนีโอคลาสสิก

Maslow : ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ มี 5 ขั้นตอน
1. ความต้องการทางกายภาพ
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมสังคม
4. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน
5. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวได้ตั้งไว้

McGregor : Theory X ; คนไม่ชอบทำงาน ชอบเลี่ยงงาน ต้องใช้กฎระเบียบ
Theory Y ; มอบหมายงานอะไรมา คนก็ทำไปตามนั้น
กระบวนการบริหาร : เช่น POLE or POCCC ให้อธิบายพอสังเขปนะ

3. ยุคร่วมสมัย - ปฎิเสธหลัก One Best Way ความสำเร็จไม่ได้มีวิธีเดียว
- สนใจความเป็นมนุษย์
- มององค์การในเชิงระบบเปิด (Open System Analysis)
- ศึกษาองค์การตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด
- การตีความจากการกระทำ จะมีความแตกต่างกันในแต่บุคคล
- มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ และมีการวิจัยดำเนินงาน
สรุป มองว่า องค์การอยู่ภายใต้ระบบใหญ่ นั่นก็คือ สิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมขององค์การเปลี่ยนแปลง องค์การก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

กลุ่มพัฒนามาจากพวกคลาสสิก คือ พวกQuantitative Science ซึ่ง Quantitative Science แบ่งเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มนักวิชาการจัดการ กับกลุ่มการวิจัยดำเนินงาน
1) กลุ่มนักวิชาการจัดการ มุ่งเน้นในเรื่องของการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย ประยุกต์ใช้ภายในองค์การ เช่น คอมฯ หุ่นยนต์ เครื่องจักร ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดเป็นลักษณะองค์การที่เป็นสมัยใหม่ เช่น ออฟฟิตสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยสารสนเทศ Management Science มันทำให้เกิดการประยุกต์เรื่องสารสนเทศมาใช้ในองค์การ หรือที่เรียกว่า IT
2) กลุ่มบริหารเชิงปริมาณอีกกลุ่ม คือพวกที่ใช้เทคนิคการวิจัยมาทำนาย The Operations Research พวกนี้รวมถึงพวกคลาสสิกยึดหลัดอันเดียวกัน คือ มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด เชื่อในหลัก one best way ใช้วิธีคิดตามแนวทางของระบบปิด

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นยุคร่วมสมัย เป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาในเชิงระบบ เชื่อว่าองค์การนั้นเป็นระบบ ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 5 ระบบย่อย ซึ่งจะทำงานอยู่ท่ามกลางระบบใหญ่ คือระบบของสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์กรในเชิงระบบนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธในหลักของ One Best Way ซึ่งเกิดการศึกษาแบบใหม่ขึ้น เหมือนกับการไปวิจัยว่าองค์การที่มีวิธีการที่ผลิตต่างกัน องค์การขนาดเล็กผลิตด้วยศิลปะหัตกรรม ใช้คนงานที่มีทักษะ หรือเรียกว่า OTOP หรือองค์การที่มีขนาดกลาง ที่มีการใช้เครื่องจักร และองค์การที่มีขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ เช่น โรงงานน้ำมัน ซึ่งมีการขุดเจาะ มีการแปรรูป โครงสร้างขององค์การจะลักษณะเหมือนกันหรือต่างกัน ซึ่งผลการวิจัยเขาพบว่ามันต่างกัน ซึ่งมันที่มาของความเชื่อว่า one best way มีไม่จริง
เพราะฉะนั้นพวกแนวคิดเชิงระบบก็สนับสนุนเรื่องเหล่านี้ เขาบอกว่า ถ้าวัตถุประสงค์เปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน โครงสร้างมันก็เปลี่ยนไปด้วย ผู้คนในองค์การก็เปลี่ยน การบริหารจัดการก็เปลี่ยน ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดการขาดความสมดุลถ้าไม่เปลี่ยนตามกัน ซึ่งมุมมองในเชิงระบบนั้นจะมองในจุดย่อยของระบบนั้นๆ
และสุดท้าย ปัจจัยในองค์การที่มีความสำคัญยิ่ง คือ ผู้มีอำนาจ ผู้นำ และผู้มีอำนาจเหล่านี้ ที่มีส่วนในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการดำเนินงานมากเป็นอย่างยิ่ง มีอิทธิพลในการกำหนดการผลิต พวกนี้เขาเรียกว่า Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการกระทำที่เกิดขึ้น ให้ความหมายกับการกระทำต่างๆ
ซึ่งในองค์การยุคใหม่นั้นถ้าจะดูว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงจะไปทางไหนนั้น ให้ดูผู้มีอำนาจในองค์การนั้น ผู้นำให้ความสำคัญที่เรื่องอะไร และถ้าผู้นำนั้นทำให้เกิดการความเปลี่ยนแปลงในองค์การสมดุล ก็จะทำให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองได้

รายละเอียดของนักวิชาการแต่ละท่าน
Max Weber มีความเห็นเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การแบบ “ระบบราชการ” (Bureaucracy) ว่าหมายถึงองค์การขนาดใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลจำนวนมากเข้ามาทำงานร่วมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีระบบราชการ ก็คือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) นั่นเอง
- มีโครงสร้างของการบริหารภายในที่ซับซ้อน มีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นทางการสูง มีความสัมพันธ์ภายในที่เป็นทางการ
- มีสายการบังคับบัญชาชัดเจนตามสายบังคับบัญชา (Chain of Command) มีสายการบังคับบัญชามากระดับ ขยายระดับตามแนวดิ่ง ทำให้เกิดสายการบังคับบัญชาแบบปิรามิด
- มีกฏ ระเบียบ และข้อบังคับที่แน่นอน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (System of Rules)
- มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
- เน้นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ ไม่ยึดถือความสัมพันธ์แบบส่วนตัว
- มีการระบุอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งต่างๆ
- มีระบบการคัดเลือกและการเลื่อนขั้น โดยการแข่งขันตามความสามารถ
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) ความก้าวหน้าของพนักงานอยู่ที่เป็นผู้ชำนาญด้านเทคนิค
- ใช้ระบบคุณธรรม (Merit System)
- มีระบบจูงใจ โดยการกำหนดอัตราเงินเดือนตามอำนาจหน้าที่
- ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหา
จากรูปแบบดังกล่าว ระบบราชการจัดอยู่ในกลุ่มนักทฤษฏีองค์การกลุ่มคลาสสิกจึงเหมาะสมกับคนประเภททฤษฏี X

ข้อเสีย อย่างไรก็ตาม ระบบราชการของ Weber ถูกมองว่าแท้จริงแล้วเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เพราะในการทำงานต้องยึดติดกับกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัดจนเกินไป ทำให้เกิดความขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า (Red Tape)
นอกจากนี้ ทฤษฏีระบบราชการ Max Weber ถูกวิจารณ์ว่าเน้นความสำคัญของโครงสร้างมากเกินไป แต่สนใจเฉพาะการบริหารภายในองค์การเท่านั้น โดยเขาพยายามชี้ให้เห็นว่าองค์การในอุดมคตินั้นมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบขององค์การอื่นๆ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจสภาพแวดล้อม

Henry Fayol เจ้าของทฤษฎีหลักการบริหารทั่วไป (General Principle of Management) ได้กำหนดว่าหน้าที่ของนักบริหารประกอบด้วยหลัก 5 ขั้นที่เรียกว่ากระบวนการบริหาร POCCC
P การวางแผน (Planning) คือแนวทางในการดำเนินการ โดยการคาดคะเนหรือพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในอนาคต
O การจัดองค์การหรือรูปงาน (Organizing) คือการกำหนดถึงโครงสร้างโดยระบุหน้าที่ โดยการผสมผสานระหว่างวัตถุ คนและเงิน
C การสั่งการบังคับบัญชา (Commanding) ซึ่งการบังคับบัญชาที่ดีนั้นต้องเป็นการติดต่อสื่อสาร 2 ฝ่าย กล่าวคือการยินยอมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
C การประสานงาน (Coordinating) คือการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
C การควบคุมบัญชาการ (Controlling) คือการติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
อนึ่ง หลักองค์การและการจัดการของ Fayol มีความคล้ายคลึงกับทฤษฏีระบบราชการของ Max Weber มาก

Frederic W. Taylor เป็นวิศวกรเครื่องยนต์ เป็นเจ้าของแนวคิดในการศึกษาองค์การและการจัดการ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการจัดการ” โดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
Frederic W. Taylor เป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์โ (Scientific Management) โดยเน้นโครงสร้าง โดยเห็นว่าหากองค์การมีโครงสร้างในการทำงานที่ดี มีการจัดแบ่งงานที่ดี
Frederic W. เป็นผู้ริเริ่มค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้แรงงานและความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยมีความเชื่อว่านิสัยของมนุษย์ชอบหลีกเลี่ยงงานและความรับผิดชอบ ฉะนั้น จึงควรใช้ระบบการจ้างรายชิ้นเพื่อกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น นอกจากนี้เขายังเชื่อในหลักการทำงานที่ว่าการแบ่งแยกงานกันทำจะทำให้มนุษย์สามารถทำงานตามความถนัดของตน อันจะเป็นผลทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแนวความคิดของ Taylor นี้ มีอิทธิพลต่การบริหารในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆในสมัยนั้น จนเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
แนวคิดในเรื่องการบริหารจัดการตามหลัก Scientific Management P. 58-59
- ใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำงาน โดยการสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เพื่อหาหลักการทำงานที่ดีที่สุด One Best Way มาใช้ในการทำงานในองค์การ เพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
-ทฤษฎีของ Taylor ให้ความสนใจเฉพาะการบริหารภายในโดยไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมของคน โดยเขาเป็นนักวิชาการคนเดียวในให้ความสนใจคน “ระดับคนงาน” โดยการเลือกคนที่เหมาะสมกับงาน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความเห็นของเขากลับได้รับการต่อต้านจากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสหภาพแรงงาน
- มองคนเหมือนเครื่องจักร ที่ต้องจูงใจให้ทำงานด้วยเงิน (Money Incentive)
- เป็นองค์การในระบบปิด (Closed System Perspective)
- Taylor เห็นว่าการบริหารงานคือศิลปในการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่นเป็นผู้ปฏิบัติงาน มีการเลลือกคนที่เหมาะสม มีกระบวนการพัฒนาคน

Abraham Maslow Maslow ได้เสนอทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Need Theory) หรือทฤษฏีจูงใจ (Theory of Motivation) โดยแบ่งลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1) ความต้องการทางกายภาพหรือทางร่างกาย (Physiological Need) เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งก็คือปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย และในปัจจุบันยังหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย
2) ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Need) คือความปลอดภัยมในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการงานด้วย เช่น ความต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
3) ความต้องการทางด้านสังคม (Social Need) ได้แก่ความต้องการความรักและการยอมรับจากสังคม
4) ความต้องการทางด้านที่จะมีฐานะเด่นหรือมีชื่อเสียง (Esteem Need หรือ Ego Need หรือ Status Need) คือความต้องการได้รับการยกย่องนับถือและสรรเสริญจากสังคม
5) ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต (Self-Actualization Need) ได้แก่ ความร่ำรวย



Douglas Murray McGregor ได้เสนอทฤษฏี x และ Y ไว้ในหนังสือ The Human Side Enterprise โดยชี้ให้เห็นถึงลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเขาได้แบ่งคนออกเป็น 2 ลักษณะ

ธรรมชาติของคนตามทฤษฏี x มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- โดยทั่วไปมนุษย์มีนิสัยเกียจคร้าน ไม่ชอบการทำงาน จึงมักหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส
- เห็นแก่ตัว และเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
- ไม่ฉลาด
- เมื่อนุษย์ไม่ชอบที่จะทำงาน ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์ทำงานจึงต้องใช้วิธีบังคับ ควบคุม สั่งการและนำบทลงโทษมาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
- มนุษย์ไม่ชอบการบังคับ ไม่มีความรับผิดชอบ ชอบเป็นผู้ตาม มีความกระตือลือล้นในการทำงานเพียงเล็กน้อย และต้องการมีความมั่นคงในการทำงาน


ธรรมชาติของคนตามทฤษฏี Y มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้เกียจคร้าน ชอบทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการทำงาน
- มนุษย์หาแนวทางและควบคุมตนเองได้ การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน
- มีความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพที่ตนมีอยู่
- การให้รางวัลตามความสำเร็จของงานจะช่วยสร้างความผูกพันต่อองค์การ และนำมาซึ่งความสำเร็จสูงสุดขององค์การในที่สุด
- มีความรับผิดชอบ

ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฏี X และทฤษฏี Y
ลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฏี X มองคนในแง่ร้าย โดยเชื่อว่ามนุษย์เลวมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้ต้องใช้การบริหารงานแบบเผด็จการ ต้องการผู้นำแบบเผด็จการและการจัดองค์การแบบคลาสสิก
ลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฏี Y มองคนในแง่ดี และเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะดังกล่าวมาโดยกำเนิด ทำให้เกิดการบริหารแบบประชาธิปไตย หรือแบบที่เน้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารงาน


เรื่องโครงสร้าง
สายการบังคับบัญชา คือ ความสัมพันธ์ตามแนวดิ่งหรือความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ที่ลดหลั่นกันลงมา จากบนลงล่าง
-----------------------

ช่วงการบังคับบัญชาหรือช่วงการควบคุม คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าหัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องในการบังคับบัญชากี่คน รับผิดชอบใครบ้าง
ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้การบังคับบัญชาสั้น ลูกน้องมีอิสระ มีส่วนร่วมในการ ทำงาน ข้อเสีย ลูกน้องมีเยอะ ทำให้การควบคุมไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดการผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
สายการบังคับบัญชายาว ช่วงการบังคับบัญชาจะแคบ สายการบังคับบัญชายาว ช่วงการบังคับบัญชายาว
-----------------------

เอกภาพในการบังคับบัญชา คือการที่ลูกน้อง 1 คน มีหัวหน้าในการสั่งการ 1 คนเท่านั้น
ข้อดี คือป้องกันการสั่งงานที่ซ้ำซ้อน สับสน เข้าใจง่าย
ข้อเสีย คือขัดกับหลักประสิทธิภาพ สิ้นเปลือง ไม่ประหยัด
-----------------------

ลำดับขั้นการบังคับบัญชา คือจำนวนของความสัมพันธ์เป็นคู่ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องในสายการบังคับบัญชา

Line Agency คือหน่วยงานหลักที่ทำภารกิจหลักตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เกี่ยวข้องกับประชาชน

Staff Agency คือ หน่วยงานสนับสนุน ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้การทำภาระกิจหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วขึ้น
-----------------------

ความซับซ้อนของโครงสร้าง คือ ระดับของความแตกต่างในโครงสร้างของแต่ละองค์การ มี 3 ลักษณะ
1. ความแตกต่างในแนวดิ่ง คือ สายการบังคับบัญชามาก ลำดับชั้นการบังคับบัญชาก็มาก
2. ความแตกต่างในแนวนอน คือ มีผู้เชี่ยวชาญมาก มีการแบ่งงานเฉพาะด้าน
3. ความแตกต่างในการกระจายพื้นที่ คือ มีสาขามาก การควบคุม ติดต่อประสานงานยาก (แผนกงานมาก) เช่น ธนาคาร
-----------------------

ความเป็นทางการของโครงสร้าง คือวิธีการ กระบวนการ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติอย่างเป็นทางการ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อดี คือไม่ซับซ้อน ง่ายในการควบคุม
ข้อเสีย คือขาดอิสระในการทำงาน เพราะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้มีการกำหนดไว้
-----------------------

การรวมอำนาจ คือ การรวมอำนาจในการตัดสินใจ การบังคับบัญชาในเรื่องสำคัญ ๆ ไว้ที่คน ๆ เดียว หน่วยงานเดียว หรือ ระดับ ๆ เดียว ข้อดี คือ ง่ายต่อการควบคุม รวดเร็ว ประหยัด เกิดเอกภาพในการบริหาร ข้อเสีย คือ ขาดอิสระ ขาดการมีส่วนร่วมของคนในองค์การ

การกระจายอำนาจ คือ การกระจายอำนาจตัดสินใจส่วนใหญ่กระจายลงไปยังผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างลงมา แต่ยังสงวนอำนาจบางอย่างไว้เพื่อกำกับดูแลองค์การ ข้อดี คือ แบ่งเบาภาระของผู้บริหาร ฝึกผู้นำระดับรอง ๆ ลงมา องค์การเติบโตในระยะยาว
-----------------------

POSDCORB แนวความคิดกระบวนการบริหาร
Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่างๆไว้ในหนังสือชื่อ Paper on the Science of Administration: Note on the Theory of Organization โดยเขามีความเห็นว่าการบริหารงานทุกหน่วยงานจะมีประสิทธิภาพได้ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นของคน โดยมีแนวคิดในกระบวนการบริหารโดยใช้หลัก POSDCORB ซึ่งมี 7 ขั้นตอนด้วยกัน
P = การวางแผน (Planning) คือการวางแผนเค้าโครงก่อนการลงมือปฏิบัติ
O = การจัดองค์การหรือการจัดรูปงาน (Organizing)
S = การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน (Staffing) คือการบรรจุหรือจัดหาบุคลากรมาปฎบัติงาน เพื่อสรรหาบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพมาปฏิบัติงาน
D = การอำนวยการ (Directing) คือการใช้ศิลปในการบริหารงานหรือการสั่งการนั่นเอง
CO = การประสานงาน (Coordinating) คือการประสานงานให้ส่วนต่างๆของกระบวนทำงนอย่างต่อเนื่องกัน
R = รายงานผลงาน (Reporting) คือกระบวนการรายงายให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน
B = งบประมาณ (Budgeting) คือการวางแผนบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการคลัง
สาระของ POSDCORB คือประสิทธิภาพในการบริหาร คือเพื่อให้การบริหารงานทุกหน่วยมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นหรือตามความถนัดของคนงาน โดยมีการแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้าและพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบขององค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิดและมีสายการบังคะบบัญชาที่ลดหลั่นกันมา
-----------------------


ทฤษฎีการจูงใจของเฮร์สเบิร์ก (Herzberg’s Theory of Motivation)
ทฤษฎีการจูงใจของเฮร์สเบิร์ก (Herzberg’s Theory of Motivation) เสนอโดย Frederic Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลหรือมีผลต่อทำงานของบุคคลากรในองค์การ โดยการพิจารณาการจูงใจในองค์การโดยการศึกษาจากสภาพที่การทำงานจริงๆ เขามีความเห็นว่าในระบบการทำงานในองค์การนั้นมีปัจจัยอยู่ 2 ประเภทที่สร้างความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน โดยศึกษาถึงทัศนคติที่บุคคลมีต่อการทำงานซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่องาน
1) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ (Motivate Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เป็นปัจจัยที่ถ้าองค์การสามารถกระทำได้หรือเมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้ว จะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน จะเป็นผลกระตุ้นให้คนทำงานทำงานได้ดีขึ้น และเป็นผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด ปัจจัยประเภทนี้ ได้แก่
- ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
- ความยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
- ลักษณะของงาน
- ความรับผิดชอบ
- ความก้าวหน้าในทางการงาน

2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความไม่พอใจให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์การอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น แต่ถึงแม้ว่าไม่มีก็ไม่ได้ถึงขนาดทำให้คนงานไม่พอใจ และไม่ถือว่ามีส่วนกระตุ้นให้เกิดการทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบในการทำงาน สภาพหรือเงื่อนไขในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทำงาน ปัจจัยประเภทนี้ ได้แก่
- นโยบายและการบริหารงานขององค์การ
- กฎระเบียบในการทำงาน
- เทคนิคและการควบคุมงาน
- เงิอนเดือน
- ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา (ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล)
- สภาพหรือเงื่อนไขในการทำงาน
- ความมั่นคงในการทำงาน
-----------------------

ตัวอย่างที่เคยเขียนทดสอบ ความซับซ้อนกับความเป็นทางการ
ความซับซ้อนเป็นเรื่องของความแตกต่างในโครงสร้าง ที่มีตั้งแต่ความแตกต่างในแนวนอน ความแตกต่างในแนวดิ่งและการกระจ่ายของสถานที่ตั้ง ความซับซ้อนถ้ามีมากจะมีผลให้การบริหารจัดการนั้นยาก ควบคุมยาก การซับซ้อนทำให้คนทำงานมีอิสระ แต่การกำกับดูแลทำได้ยาก องค์การที่มีขนาดใหญ่จะมีความซับซ้อนมาก
ในส่วนของความเป็นทางการนั้น มันเป็นเรื่องของการที่องค์การหนึ่งๆ มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่มีผลต่อการทำงานขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติตาม ผู้คนที่อยู่ในองค์การจะไม่มีอิสระในการดำเนินงาน
ในส่วนของเรื่องกฎเกณฑ์ในองค์การขนาดเล็กนั้นอาจจะมีกฎ หลักเกณฑ์มากก็ได้ หรือใหญ่ อาจจะมีกฎ หลักเกณฑ์มากก็ได้ ต้องทำตามกติกาที่กำหนด
-----------------------

โครงสร้างขององค์การ ระดับการบังคับ ช่วงการบังคับบัญชา เอกภาพในการบังคับบัญชา ลักษณะโครงสร้างการแยก Line กับ Staff
- เรื่องโครงสร้าง เรื่องกระบวนการ และแนวคิดทฤษฎี แนวข้อสอบประมาณว่า ยุคคลาสสิกเขาเสนออะไร แล้วใครเป็นผู้เสนอบ้าง
-----------------------

ผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
นักทฤษฏีการบริหารได้แบ่งประเภทของผู้ปฏิบัติงาน ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พนักงานปฏิบัติงาน (Line Agency) คือพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการบังคับบัญชาและปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ มักจะมีตำแหน่งอยู่ในสายบังคับบัญชา (Chain of Command) และได้รับคำสั่งตามลำดับขั้นจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดไปยังผู้ปฏิบัติงานในระดับต่ำสุด
2. Staff Agency คือฝ่ายอำนวยการคอยอำนวยความสะดวก มีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนพนักงานปฏิบัติงานในภารกิจหลักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีหน้าที่คอยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลและวิจัยที่จำเป็นในการบริหาร มีการแบ่งแยกหน้าที่ตามความชำนาญ พนักงานที่ปรึกษานี้จะอยู่ในรูปของตัวบุคคลหรือคณะกรรมการก็ได้ แต่ถ้ามีที่ปรึกษาจำนวนมาก มักจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในองค์การได้
ข้อสังเกตุ พนักงานที่ปรึกษานี้จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการและตัดสินใดที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขององค์การ แต่เป็นเพียงผู้ที่ให้ข้อมูลและคอยช่วยเหลือพนังานปฏิบัติงานเท่านั้น
พนักงานที่ปรึกษานี้มีความจำเป็นในองค์การที่มีขนาดใหญ่หรือหน่วยงานที่มีความสลับซับซ้อน ท
-----------------------

เครือข่ายของการสื่อสารในองค์การ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การสื่อสารแบบเป็นทางการ มักเป็นการสื่อสารตามสายบังคับบัญชา
1) การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication) คือการสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เช่น
- การแถลงนโยบาย
- การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ
­
2) การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication) คือการสื่อสารจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไปสู่ผู้บังคับบัญชา ได้แก่
- การรายงานการปฏิบัติงาน
- การรายงานสภาพปัญหาอุปสรรคของงาน
-
3) การสื่อสารในแนวนอน (Lateral Communication) คือการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ในระดับสายการบังคับบัญชาในชั้นเดียวกัน
-----------------------




อ. ปิยะนุช เงินคล้าย
ในส่วนของ อ. ปิยะนุช เงินคล้าย ออก 1 ข้อ หัวข้อที่น่าจะออกสอบมีดังนี้ ใน Sheet หน้า 10

คำถาม 1 ผู้บริหารของท่านมีความสำเร็จในการบริหารงานหรือไม่ อย่างไร
ข้อย่อย 1 เอาจาก ชีท หน้า 9 มาตอบ เรื่อง คุณลักษณะเด่นของนักบริหาร ที่เป็นหลาย ๆ ทศวรรธอะ เลือกมาตอบซัก 3-5 อันก็ได้ แล้วก็อธิบายในแต่ละหัวข้อ

แนวคำตอบ ผู้บริหารจะประสบความสำเร็จในการบริหารงานหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคุณลักษณะเด่นดังต่อไปนี้
- มีอุดมคติ มีคุณภาพ และความทะเยอทะยายสูง
- มีความเชื่อและมีความสามารถในการทำกิจกรรมได้หลากหลายและสามารถดำเนินกิจการที่ยุ่งยากซับซ้อนได้
- การทำงานในแต่ละวันมีรูปแบบสูง
- มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาอย่างมาก มีทักษะในการประสานงาน มีความชำนาญในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจ
- รู้จักจัดว่าอะไรอยู่ก่อน/หลัง
- ใช้ศิลปะในการควบคุมดูแลลูกน้อง มีเวลาในการพิจารณาและให้คำปรึกษากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา รอบรู้ทั้งระบบ Micro และ Macro ฝึกคนให้ทำงาน สามารถปรับตัวให้เข้ากับลูกน้องได้ มีการให้รางวัลและการลงโทษ
- รู้จักการใช้ข้อมูลย้อนกลับให้เป็นประโยชน์
- รู้จักคิดอย่างมีจิตหมายปลายทาง มองไปในอนาคต สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ภายหน้าได้
-----------------------




คำถาม 2 ในองค์กรของท่านมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานงานในเรื่องใดบ้าง
ข้อย่อย 2 เอาจากในหนังสือหน้า 250

แนวคำตอบ จากตำรา หน้า 250
เกณฑ์ (Criteria) และวิธีกรวัด (Measures) ประสิทธิผลองค์การ ของ Robbins มี 30 ประการ ดังนี้
1. ประสิทธิผลโดยรวม (Overall Effectiveness)
2. ผลผลิต (Productivity)
3. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
4. กำไร (Profit)
5. คุณภาพ (Quality)
6. อุบัติเหตุ (Accidents)
7. การเติบโต (Growth)
8. การขาดงานเสมอๆ (Absenteeism)
9. การหมุนเวียนงาน (Turnover)
10. ความพอใจในการทำงาน (Jab Satisfaction)
11. แรงจูงใจ (Motivation)
12. ขวัญ (Morale)
13. การควบคุม (Control)
14. ความขัดแย้ง (Conflict)
15. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility/ Adaptation)
16. การวางแผนและการกำหนดเป้าหมาย (Planning and Goal Setting)
17. ความเห็นพ้องต้องกันในเป้าหมาย (Goal Consensus)
18. เปาหมายองค์การที่เป็นสากล (Internationalization of Organization Goals)
19. ความสอดคล้องในบทบาทและบรรทัดฐาน (Role and Norm Congruence)
20. ทักษะในการบริหารงานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Managerial Interpersonal Skills)
21. ทักษะทางการบริหารในงาน (Managerial Task Skills)
22. ข้อมูลในการบริหารและการติดต่อสื่อสาร (Information Management and Communication)
23. ความพร้อม (Readiness)
24. การใช้สิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ (Utilization of Environment)
25. การประเมินโดยใช้เอกลักษณ์ภายนอก (Evaluations by External Entities)
26. ความมั่นคง (Stability)
27. ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่า (Value of Human Resources)
28. การมีส่วนร่วมและการจัดสรรอิทธิพล (Participation and Shared Influence)
29. การเน้นการึกอบรมและพัฒนา (Training and Development Emphasis)
30. การเน้นความสัมฤทธิ์ผล (Achievement Emphasis)
-----------------------

คำถาม 3 ในองค์กรของท่าน หน่วยงานควรตอบสนองความต้องการแก่บุคคลต่างๆ อย่างไร
แนวคำตอบ
ข้อย่อย 3 อ้างอิงแนวคิดของ Maslow
Abraham Maslow Maslow ได้เสนอทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Need Theory) หรือทฤษฏีจูงใจ (Theory of Motivation) โดยแบ่งลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1) ความต้องการทางกายภาพหรือทางร่างกาย (Physiological Need) เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งก็คือปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย และในปัจจุบันยังหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย
2) ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Need) คือความปลอดภัยมในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการงานด้วย เช่น ความต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
3) ความต้องการทางด้านสังคม (Social Need) ได้แก่ความต้องการความรักและการยอมรับจากสังคม
4) ความต้องการทางด้านที่จะมีฐานะเด่นหรือมีชื่อเสียง (Esteem Need หรือ Ego Need หรือ Status Need) คือความต้องการได้รับการยกย่องนับถือและสรรเสริญจากสังคม
5) ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต (Self-Actualization Need) ได้แก่ ความร่ำรวย
-----------------------




คำถาม 4 ในองค์การของท่าน บุคคลในองค์การมีลักษณะอย่างไร
แนวคำตอบ ข้อย่อย 4 เช่น เรื่องบุคลิกภาพในองค์การ จำหน้าไม่ได้







คำถาม 5 ในองค์กรของท่าน บุคคลในองค์การมีความพึงพอใจในงานในเรื่องใดบ้าง
แนวคำตอบ
ข้อย่อย 5 เอามาจาก หน้า 258 หัวข้อ สาเหตุของ Job satisfaction
Job Satisfaction
1. Pay

2. The Work itself

3. Promotion

4. Supervision

5. The Work Group

6. Working Condition





อ. อนงทิพย์
ส่วนของ อ. อนงทิพย์ ข้อสอบเป็นแบบ Case Study
ตัวอย่างคำถาม ใน 1 จังหวัด อยู่ท่ามกลางภูมิประเทศ ภูเขา น้ำตก ล้อมรอบไปด้วยสิ่งแวดล้อม แต่เจอปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก แผ่นดินไหว ถ้าท่านได้รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว ท่านจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีกลยุทธ์ในการฟื้นฟูจังหวัดที่กำหนดมาอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรมาแก้ปัญหาวิกฤติในหน่วยงานบ้าง (วิเคราะห์ตามขั้นตอนข้างล่าง)

แนวคำตอบ
ขั้นตอนการสร้างการบริหารการเปลี่ยนแปลง (ในการตอบให้แยกออกมาเป็นเรื่องๆ ก่อน เช่น จุดแข็ง จัดอ่อน แล้ววิเคราะห์ไปตามสถาณการณ์ที่ให้มา) แบ่งออกเป็น
1.วางแผนการเปลี่ยนแปลง คือ การวิเคราะห์สถานการณ์
- วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม หรือ SWOT
- วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม 1. ภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทั่วไป คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี โลกาภิวัฒน์ และ สิ่งแวดล้อมเฉพาะ คือ ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง กลุ่มผลประโยชน์ 2. ภายในองค์การ โดยใช้หลัก 7’S มาวิเคราะห์
- กำหนดวัตถุประสงค์การเปลี่ยนแปลง ว่าต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องใดบ้าง

2. ลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลง

3. ประเมินผลและรักษาให้การเปลี่ยนแปลงคงอยู่

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขอความร่วมมือ

เพื่อน น.ศ. ข้อมูลในการเตรียมตัวสอบวิชา LP 612 อยากจะแชร์กับคนอื่น ก-รุ-ณา ส่งต่อมาให้ผมหน่อยนะครับ เพราะตั้งแต่ทำบ้อคมา ยังไม่เคยได้รับการตอบสนองเลย กำลังมีความคิด่าทำไปทำไมเหมือนกันถ้าไม่มีช่วยกัน

LP 612 ส่วนของ อ. พงศ์สัณฑ์ 1 ข้อ (ข้อใหญ๋๗

คำถาม นักทฤษฏี 3 ยุค คือในยุค Classic, Neo-Classic และยุคร่วมสมัย ซึ่ง อ. ให้จำมา 5 ท่านพร้อมแนวคิด

Max Weber มีความเห็นเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การแบบ “ระบบราชการ” (Bureaucracy)
- มีความเป็นทางการสูง
- มีสายการบังคับบัญชาชัดเจนตามสายบังคับบัญชา (Chain of Command) มีสายการบังคับบัญชามากระดับ ขยายระดับตามแนวดิ่ง
- มีกฏ ระเบียบ ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (System of Rules)
- มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
- เน้นความพันธ์ที่เป็นทางการ ไม่ยึดถือความสัมพันธ์แบบส่วนตัว
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) ความก้าวหน้าของพนักงานอญุ่ที่เป็นผู้ชำนาญด้านเทคนิค
- ใช้ระบบคุณธรรม (Merit System)
จากรูปแบบดังกล่าว ระบบราชการจึงเหมาะสมกับคนประเภททฤษฏี X
ข้อเสีย อย่างไรก็ตาม ระบบราชการของ Weber ถูกมองว่าแท้จริงแล้วเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เพราะในการทำงานต้องยึดติดกับกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัดจนเกินไป ทำให้เกิดความขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า (Red Tape)
นอกจากนี้ ทฤษฏีระบบราชการ Max Weber ถูกวิจารณ์ว่าเน้นความสำคัญของโครงสร้างมากเกินไป แต่สนใจเฉพาะการบริหารภายในองค์การเท่านั้น โดยเขาพยายามชี้ให้เห็นว่าองค์การในอุดมคตินั้นมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบขององค์การอื่นๆ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจสภาพแวดล้อม


Henry Fayol เจ้าของทฤษฎีหลักการบริหารทั่วไป (General Principle of Management) ได้กำหนดว่าหน้าที่ของนักบริหารประกอบด้วยหลัก 5 ประการที่เรียกว่า POCCC
P การวางแผน (Planning) คือแนวทางในการดำเนินการ โดยการคาดคะเนหรือพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในอนาคต
O การจัดองค์การ (Organizing) คือการกำหนดถึงโครงสร้างโดยระบุหน้าที่ โดยการผสมผสานระหว่างวัตถุ คนและเงิน
C การบังคับบัญชา (Commanding) คือการ .... ซึ่งการบังคับบัญชาที่ดีนั้นต้องเป็นการติดต่อสื่อสาร 2 ฝ่าย กล่าวคือการยินยอมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
C การประสานงาน (Coordinating) คือการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
C การควบคุม (Controlling) คือการติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

Frederic W. Taylor เป็นวิศวกรเครื่องยนต์ เป็นเจ้าของแนวคิดในการศึกษาองค์การและการจัดการ
Frederic W. Taylor เป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์โ (Scientific Management) โดยเน้นโครงสร้าง โดยเห็นว่าหากองค์การมีโครงสร้างในการทำงานที่ดี มีการจัดแบ่งงานที่ดี
Frederic W. เป็นผู้ริเริ่มค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้แรงงานและความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยมีความเชื่อว่านิสัยของมนุษย์ชอบหลีกเลี่ยงงานและความรับผิดชอบ ฉะนั้น จึงควรใช้ระบบการจ้างรายชิ้นเพื่อกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น นอกจากนี้เขายังเชื่อในหลักการทำงานที่ว่าการแบ่งแยกงานกันทำจะทำให้มนุษย์สามารถทำงานตามความถนัดของตน อันจะเป็นผลทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแนวความคิดของ Taylor นี้ มีอิทธิพลต่การบริหารในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆในสมัยนั้น จนเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
แนวคิดในเรื่องการบริหารจัดการตามหลัก Scientific Management
- ใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำงาน โดยการสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เพื่อหาหลักการทำงานที่ดีที่สุด One Best Way มาใช้ในการทำงานในองค์การ เพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
-ทฤษฎีของ Taylor ให้ความสนใจเฉพาะการบริหารภายในโดยไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมของคน โดยเขาเป็นนักวิชาการคนเดียวในให้ความสนใจคน “ระดับคนงาน” โดยการเลือกคนที่เหมาะสมกับงาน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความเห็นของเขากลับได้รับการต่อต้านจากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสหภาพแรงงาน
- มองคนเหมือนเครื่องจักร ที่ต้องจูงใจให้ทำงานด้วยเงิน (Money Incentive)
- เป็นองค์การในระบบปิด
- Taylor เห็นว่าการบริหารงานคือศิลปในการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่นเป็นผู้ปฏิบัติงาน มีการเลลือกคนที่เหมาะสม มีกระบวนการพัฒนาคน


Abraham Maslow Maslow ได้เสนอทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Need Theory) หรือทฤษฏีจูงใจ (Theory of Motivation) โดยแบ่งลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1) ความต้องการทางกายภาพหรือทางร่างกาย (Phyisiological Need) ซึ่งก็คือปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย และในปัจจุบันยังหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย
2) ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Need) คือความปลอดภัยมในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการงานด้วย
3) ความต้องการทางด้านสังคม (Social Need) ได้แก่ความต้องการความรักและการยอมรับจากสังคม
4) ความต้องการทางด้านที่จะมีฐานะเด่นหรือมีชื่อเสียง (Esteem Need) คือความต้องการได้รับการยกย่องนับถือและสรรเสริญจากสังคม
5) ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต (Self-Actualization Need) ได้แก่ ความร่ำรวย


Douglas Murray McGregor ได้เสนอทฤษฏี x และ Y ไว้ในหนังสือ The Human Side Enterprise โดยมองคนออกเป็น 2 ลักษณะ
ทฤษฏี x มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- โดยทั่วไปคนมีนิสัยเกียจคร้าน
- ชอบเลี่ยงงาน
- ขาดความกระตือลือล้น ไม่มีความรับผิดชอบ ชอบเป็นผู้ตาม
- เห็นแก่ตัว และเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
- ไม่ฉลาด


ทฤษฏี Y มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- มนุษย์ไม่ได้เกียจคร้าน ชอบทำงาน
- คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้ การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน
- มีความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพที่ตนมีอยู่
- มีความรับผิดชอบ

คำถาม หน้าที่ของผู้บริหาร
POSDCORB แนวความคิดกระบวนการบริหาร
Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่างๆไว้ในหนังสือชื่อ Paper on the Science of Administration: Note on the Theory of Organization โดยเขามีความเห็นว่าการบริหารงานทุกหน่วยงานจะมีประสิทธิภาพได้ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นของคน โดยมีแนวคิดในกระบวนการบริหารโดยใช้หลัก POSDCORB
P = การวางแผน (Planning) คือการวางแผนเค้าโครงก่อนการลงมือปฏิบัติ
O = การจัดองค์การ (Organizing)
S = การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน (Staffing) คือการจัดหาบุคลากรมาปฎ”บัติงาน เพื่อสรรหาบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพมาปฏิบัติงาน
D = การอำนวยการ (Directing) คือการใช้ศิลปในการบริหารงาน
CO = การประสานงาน (Coordinating) คือการประสานงานให้ส่วนต่างๆของกระบวนทำงนอย่างต่อเนื่องกัน
R = รายงาน (Reporting) คือกระบวนการรายงายให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน
B = งบประมาณ (Budgeting) คือการวางแผนบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการคลัง
สาระของ POSDCORB คือประสิทธิภาพในการบริหาร คือเพื่อให้การบริหารงานทุกหน่วยมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นหรือตามความถนัดของคนงาน โดยมีการแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้าและพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบขององค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิดและมีสายการบังคะบบัญชาที่ลดหลั่นกันมา


คำถาม 3 โครงสร้างในองค์การ






ความรู้เพิ่มเติมที่ อ. กล่าวถึง
ทฤษฎีการจูงใจของเฮร์สเบิร์ก (Herzberg’s Theory of Motivation) เสนอโดย Frederic Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่จีผลทำงานของบุคคลากรในองค์การ โดยศึกษาถึงทัศนคติที่บุคคลมีต่อการทำงาน เพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอใจในการทำงานและทำให้คนงานมีควารู้สึกที่ดีในการที่จะพยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1) ปัจจัยจูงใจ (Motivate Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เป็นปัจจัยที่ถ้าองค์การสามารถกระทำได้ จะเป็นผลกระตุ้นให้คนทำงานทำงานได้ดีขึ้น และถ้าไม่มีก็ไม่ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด
2) ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมคือปัจจัยที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์การอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น แต่ถึงแม้ว่าไม่มีก็ไม่ถึงขนาดทำให้คนงานไม่พอใจ และไทม่ถือว่ามีส่วนกระตุ้นให้เกิดการทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบในการทำงาน สภาพหรือเงื่อนไขในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทำงาน
----------

Line Staff คือ
Support Staff คือฝ่ายอำนวยการคอยอำนวยความสะดวก เช่น ฝ่ายบคคล
----------

เครือข่ายของการสื่อสารในองค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การสื่อสารแบบเป็นทางการ มักเป็นการสื่อสารตามสายบังคับบัญชา
1) การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication) คือการสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เช่น
- การแถลงนโยบาย
- การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ
­
2) การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication) คือการสื่อสารจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไปสู่ผู้บังคับบัญชา ได้แก่
- การรายงานการปฏิบัติงาน
- การรายงานสภาพปัญหาอุปสรรคของงาน
- 3) การสื่อสารในแนวนอน (Lateral Communication) คือการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ในระดับสายการบังคับบัญชาในชั้นเดียวกัน
----------

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฏี X - ทฤษฏี Y

ทฤษฏี X เฃื่อว่า
- คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดฃอบ ขาดความกระตือลือล้น ขาดความรับผิดชอบ
- ต้องมีการบังคับขู่เข็ญหรือลงโทษถึงจะทำงาน ชอบเป็นผู้ตาม เห็นแก่ตัว ไม่ฉลาด
- เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
- แต่ต้องการความมั่นคงในชีวิตและการทำงาน

ทฤษฏี Y มีความคิดตรงข้ามกับทฤษฏี X โดยเชื่อว่า
- คนเราชอบทำงาน (เพราะการทำงานไม่ใช่เรื่องยาก) มีความรับผิดชอบ
- ควบคุมตนเองได้ สามารถทำงานได้ด้วยใจสมัครโดยนปราศจากการบังคับหรือลงโทษ
- มีความผูกพันกับองค์การ

เตรียมตัวสอบ วิชา LP 612

องค์การและนวตกรรมในองค์การ LP 612
อ. พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ ออก 50 %
อ. อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี ออก 25%
อ. ปิยะนุช เงินคล้าย ออก 1 ข้อ (25 %)
เนื่องจากวิชานี้ผมไม่ถนัดเลย จับประเด็ไม่ค่อยจะได้ ฉะนั้น อยากรบกวนเพื่อนๆที่มีความรู้หรือข้อมูลดีๆ ช่วยส่งมาลงที่ Blog นี่หน่อยนะครับ จักเป็นพระคุณอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ศึกษาดู ก็ลองเอาแนวตอบมาให้ดูกัน ผิดถูกยังไงช่วยบอกกล่าวกันด้วยครับ ส่วนอีก 2 ข้อ คือข้อ 3-4 นั้น ยังหาคำตอบไม่ได้ ใครอยากแชร์ความรู้กัน ส่งมาได้ครับ
ขอบคุณหลายเด้อ
ไตรภพ USA
6/19/2010


--------------------

ในส่วนของ อ. ปิยะนุช เงินคล้าย ออก 1 ข้อ หัวข้อที่น่าจะออกสอบมีดังนี้
คำถาม 1 ผู้บริหารของท่านมีความสำเร็จในการบริหารงานหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ผู้บริหารจะประสบความสำเร็จในการบริหารงานหรือไม่ ต้องพิจารณาจากฃ
1. คุณภาพสูงในการทำงาน
2. มีความเชื่อและมีความสามารถในการทำกิจกรรมได้หลากหลาย
3. การทำงานในแต่ละวันมีรูปแบบสูง
4. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาอย่างมาก
5. มีเวลาในการพิจารณาและให้คำปรึกษากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา


คำถาม 2 ในองค์กรของท่านมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานงานในเรื่องใดบ้าง
แนวคำตอบ จากตำรา หน้า 250
เกณฑ์ (Criteria) และวิธีกรวัด (Measures) ประสิทธิผลองค์การ ของ Robbins มี 30 ประการ ดังนี้
1. ประสิทธิผลโดยรวม (Overall Effectiveness)
2. ผลผลิต (Productivity)
3. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
4. กำไร (Profit)
5. คุณภาพ (Quality)
6. อุบัติเหตุ (Accidents)
7. การเติบโต (Growth)
8. การขาดงานเสมอๆ (Absenteeism)
9. การหมุนเวียนงาน (Turnover)
10. ความพอใจในการทำงาน (Jab Satisfaction)
11. แรงจูงใจ (Motivation)
12. ขวัญ (Morale)
13. การควบคุม (Control)
14. ความขัดแย้ง (Conflict)
15. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility/ Adaptation)
16. การวางแผนและการกำหนดเป้าหมาย (Planning and Goal Setting)
17. ความเห็นพ้องต้องกันในเป้าหมาย (Goal Consensus)
18. เปาหมายองค์การที่เป็นสากล (Internationalization of Organization Goals)
19. ความสอดคล้องในบทบาทและบรรทัดฐาน (Role and Norm Congruence)
20. ทักษะในการบริหารงานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Managerial Interpersonal Skills)
21. ทักษะทางการบริหารในงาน (Managerial Task Skills)
22. ข้อมูลในการบริหารและการติดต่อสื่อสาร (Information Management and Communication)
23. ความพร้อม (Readiness)
24. การใช้สิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ (Utilization of Environment)
25. การประเมินโดยใช้เอกลักษณ์ภายนอก (Evaluations by External Entities)
26. ความมั่นคง (Stability)
27. ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่า (Value of Human Resources)
28. การมีส่วนร่วมและการจัดสรรอิทธิพล (Participation and Shared Influence)
29. การเน้นการึกอบรมและพัฒนา (Training and Development Emphasis)
30. การเน้นความสัมฤทธิ์ผล (Achievement Emphasis)

คำถาม 3 ในองค์กรของท่าน หน่วยงานควรตอบสนองความต้องการแก่บุคคลต่างๆ อย่างไร
แนวคำตอบ




คำถาม 4 ในองค์การของท่าน บุคคลในองค์การมีลักษณะอย่างไร