วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

หวัดดีครับ
น้องกิฟทำสรุปย่อที่ไปติวกับเอมา บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดดดดดดดดดด แต่รู้สึกว่าตารางจะลงเป็นบล๊อคไม่ได้
-----------

พี่ ๆ เพื่อน ฮับ วิชานี้ไม่รู้เรื่องเลย ที่สรุปมาก็ตามที่เอ ติวให้นะฮับ ถ้าอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจก็ขออภัยด้วย

อ.พงสัน
งานที่อาจารย์เคยให้ทำในห้อง
ต้องการศึกษาปัญหาการบริหารงานของเทศบาลจำนวน 1,100 แห่งในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา กำหนดให้ปลัดเป็นหน่วยในการศึกษา
จงแสดง 1. วัตถุประสงค์การวิจัย มี 2 ลักษณะคือ เชิงพรรณนา เชิงเปรียบเทียบ
2. ตัวแปรและกรอบแนวคิด
3. สมมติฐาน
4. รูปแบบการวิจัย
5. ชื่องานวิจัย
6. แบบสอบถาม
1. วัตถุประสงค์การวิจัย
ตัวอย่างที่ 1 วัตถุประสงค์การวิจัย
1.1 เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานของเทศบาลในปีงบประมาณ 2552 โดยพิจารณาปัญหาในเรื่อง
1.1.1 งบประมาณและการคลัง
1.1.2 การจัดซื้อจัดจ้าง
1.1.3 การบริหารงานบุคคล
ตัวชี้วัด 1.1.4 ด้านอำนาจหน้าที่
1.1.5 การควบคุมดูแลจากส่วนกลางถึงภูมิภาค
1.1.6 การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม
1.1.7 การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
1.1.8 การเมืองท้องถิ่น อิทธิพลกลุ่มผลประโยชน์
ป.ล. เวลาทำจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องนำมาทั้งหมด 8 เรื่อง อาจจะยกมาแค่ 3-4 เรื่องก็ได้ (ทั้ง 8 เรื่อง นำมาจากที่ เอ ทำ)
1.2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาการบริหารงานของเทศบาลในช่วงปีงบประมาณ 2552 ปัจจัยดังกล่าวได้แก่


1.2.1 คุณสมบัติของปลัดเทศบาล ประกอบด้วย
- เพศ
- อายุ
ตัวชี้วัด - สถานภาพ
- ประสบการณ์
- ระดับตำแหน่ง
- พรรคการเมืองที่สนับสนุน
1.2.2 คุณสมบัติของเทศบาล ประกอบด้วย
- ประเภทของเทศบาล
ตัวชี้วัด - จำนวนประชากรของเทศบาล
- จำนวนพนักงานของเทศบาล
- งบประมาณต่อปีของเทศบาล

ตัวอย่างที่ 2 (อย่างง่าย)
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของปลัดเทศบาล กับ ปัญหาการบริหารงานของเทศบาล คุณสมบัติดังกล่าวได้แก่
- เพศ
- อายุ
- สถานภาพ
- ประสบการณ์
- ระดับตำแหน่ง
- พรรคการเมืองที่สนับสนุน


2. ตัวแปรและกรอบแนวคิด
คุณสมบัติของปลัดเทศบาล
- เพศ
- อายุ
- สถานภาพ
- ประสบการณ์
- ระดับตำแหน่ง
- พรรคการเมืองที่สนับสนุน


ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลในปีงบประมาณ 2552
ในเรื่อง
- งบประมาณและการคลัง
- การจัดซื้อจัดจ้าง
- การบริหารงานบุคคล
- ด้านอำนาจหน้าที่
- การควบคุมดูแลจากส่วนกลางถึงภูมิภาค
- การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม
- การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
- การเมืองท้องถิ่น อิทธิพลกลุ่มผลประโยชน์




ตัวอย่างที่ 1




คุณสมบัติของเทศบาล
- ประเภทของเทศบาล
- จำนวนประชากรของเทศบาล
- จำนวนพนักงานของเทศบาล
- งบประมาณต่อปีของเทศบาล












ตัวอย่างที่ 2 (อย่างง่าย) (แต่ที่จะทำเป็นตัวอย่างจะใช้ตัวอย่างที่ 1)
คุณสมบัติของปลัดเทศบาล
- เพศ
- อายุ
- สถานภาพ
- ประสบการณ์
- ระดับตำแหน่ง
- พรรคการเมืองที่สนับสนุน

ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลในปีงบประมาณ 2552
ในเรื่อง
- งบประมาณและการคลัง
- การจัดซื้อจัดจ้าง
- การบริหารงานบุคคล
- ด้านอำนาจหน้าที่







3. สมมติฐาน มี 2 แบบ คือ แบบเปรียบเทียบความแตกต่าง กับ แบบเปรียบเทียบความสัมพันธ์
1. คุณสมบัติของปลัดเทศบาลที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อ ปัญหาการบริหารงานของเทศบาล แตกต่างกัน
2. คุณสมบัติของเทศบาลที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อ ปัญหาการบริหารงานของเทศบาล แตกต่างกัน
4. รูปแบบการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม ลักษณะคำถามเป็นคำถามแบบปลายปิด ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์
5. ชื่อการวิจัย
การสำรวจปัญหาการบริหารงานของเทศบาล ในปีงบประมาณ 2552
หรือ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาการบริหารงานของเทศบาล ในปีงบประมาณ 2552
6. แบบสอบถาม (จะมี 3 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ หรือ กรอบแนวคิด)
ส่วนที่ 1 ปัญหาการบริหาร
ส่วนที่ 2 คุณสมบัติของเทศบาล
1. ประเภทของเทศบาล นคร เมือง ตำบล
2. จำนวนประชากรของเทศบาล 50,000 10,000 7,000
3. จำนวนพนักงานของเทศบาล 50 มากกว่า 100 มากกว่า 200
4. งบประมาณต่อปีของเทศบาล 10,000,000 ต่อปี
ส่วนที่ 3 คุณสมบัติของปลัดเทศบาล
1. เพศ ชาย หญิง
2. อายุ (ปี) 20-40 41-50 51-60
3. สถานภาพ โสด สมรส
4. ประสบการณ์ มากกว่า 5 ปี มากกว่า 20 ปี
5. ระดับตำแหน่ง
6. พรรคการเมืองที่สนับสนุน
ข้อ 5 และ ข้อ 6 คิดไม่ออก
ข้อสังเกตุ
- ตัวแปรมีเท่าไหร่ กรอบแนวคิดก็มีเท่านั้น
- ถ้าเปรียบเทียบความแตกต่าง แบบสอบถามจะทำเป็นกล่องให้เลือกตอบ
- ถ้าเปรียบเทียบความสัมพันธ์ ให้เว้นที่ว่าง ไว้ให้เขียนตอบเอง
บรรยายตาราง A1-A6
ตาม Sheet ที่ถ่ายเอกสารจาก เอ ฮับ
อ.สุมาลี
5 Step 3 บท
Research Proposal (5 step)
1. เรื่องที่สนใจ
2. เรื่องที่สงสัย Research question (RQ) คำถามในการวิจัย ต้องตั้งเป็นคำถาม
3. Topic
4. ทบทวนวรรณกรรม Review Literature ที่เกี่ยวข้องกับ PA และ Law
5. Conceptual Framework (กรอบแนวคิด)
บทที่ 1 ความสำคัญและสภาพปัญหา
1.1 บทนำ สภาพปัญหา
1.2 วัตถุประสงค์
1.3 สมมติฐาน
1.4 ขอบเขตการศึกษา
1.5 วิธีการดำเนินการวิจัย
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 การวิเคราะก์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป และข้อเสนอแนะ

วิธีดำเนินการวิจัยของการวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 แบบ
1. Documentary research บทที่ 2 และ 3 จะเป็นการทบทวนวรรณกรรม ทั้ง 2 บท
2. Field บทที่ 2 จะเป็น การทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 3 จะเป็น วิธีดำเนินการวิจัย

คำคัพท์ที่ควรรู้
1. Generalization การนำเครื่องมือหรือเทคนิคไปใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์สังคมหนึ่งๆ
กับอีกสังคมหนึ่งหรืออื่น ๆ
2.Validity ความถูกต้องเที่ยงตรง
3. Reliability ความเชื่อถือได้
4. Credibility ความสามารถในการเข้าถึงและความมีความรู้เข้าใจในความหมายได้
อย่างแท้จริง
5. Dependability ความสามารถในการตรวจสอบความสอดคล้องกัน โดยการพึ่งพากับ
เกณฑ์อื่น ด้วยการสังเกตสิ่งเดียวกันในโอกาสต่าง ๆ
6. Transferability ความสามารถในการถ่ายโอนผลการวิจัยไปใช้กับสถานการณ์อื่นได้

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย


การวิจัยทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย

สิ่งที่อาจารย์สอนในวันนี้ คือเรื่องการเขียนรายงาน พอสรุปได้ดังนี้ (จำทุก Step ให้ได้)

Step 1 ก็คือเลือกเรื่องที่เราสนใจ

Step 2 เอาเรื่องจาก Step 1 มาตั้งเป็นข้อสงสัยเพื่อทำการวิจัย เรียกว่า เรื่องที่สงสัยหรือคำถามในการวิจัย (Research Question) หมายถึงคำถามที่ผู้วิจัยต้องการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามในการวิจัยนี้เป็นที่มาของชื่อเรื่องในการวิจัย เช่น

-

-

-

-

ใน Step นี้ อาจารย์เน้นว่าจะต้องมี 2 ทฤษฎีมาอ้างอิงได้ คือ

1) ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจ (PA) คือให้ยกทฤษฎีอ้างอิง

2) ทฤษฎีกฎหมาย (Law) คือให้ยกว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

ที่มาของข้อมูล มาจากที่ไหน เช่น

ตัวชี้วัด

Step 3 ชื่อเรื่องที่จะวิจัย คือการเปลี่ยนเรื่องที่สงสัย (Research Question) ใน Step 2 ซึ่งเป็นประโยคคำถาม มาเป็นชื่อเรื่องวิจัย

หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อเรื่องที่จะวิจัย

- ต้องเป็นวลี ไม่ใช่เป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคใดๆก็ตาม

- ไม่ตอบคำถามในตัวของมันเอง

- อ่านแล้วทำให้ทราบว่าจะต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติม

-

-

ข้อสังเหตุ ขั้นตอนจาก Step ที่ 1 - 3 เรียกว่า Proposal

Step 4 คือกรอบแนวในการวิเคราะห์ (Conseptual Framework) หลังจากที่กำหนดชื่อเรื่องตามขั้นตอนตาม Step 3 แล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องกำหนดกรอบแนววิเคราะห์หรือแนวคิด เพื่อนำไปเขียนสมมติฐาน การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยนี้อาจมาจากแนวความคิด ทฤษฏี งานวิจัย หรือประสบการณ์ของผู้วิจัยก็ได้

วัตุประสงค์ของกรอบแนวคิด เพื่อแผนที่นำทางผู้วิจัยไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ทำให้ทราบว่ากำลังต้องการหาคำตอบอะไร ซึ่งในการกำหนดกรอบแนวคิดนี้ ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวแปรและการตั้งสมมติฐานในการวิจัยด้วย

กรอบแนวในการวิเคราะห์ โดยการสร้างแบบขึ้นมาเอง เขียนเป็นรูปแผนผัง โดยการเอาข้อมูลมาจาก Review Literature (คือ 2 ทฤษฎีที่กล่าวมาแล้วคือ ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจและทฤษฎีกฎหมาย)

Step 5 (อาจารย์ยังไม่สอน)

การบ้าน

มี 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ให้ตั้งชื่อเรื่องที่จะวิจัย โดยเขียนตามหลักเกณฑ์ตาม Step 1-3

ส่วนที่ 2 ให้ทำ Conseptual Framework (ทำเฉพาะ Outline และรายละเอียดนิดหน่อย)

ส่วนที่ 3

1) เขียนบทนำและสภาพของปัญหา

- มี Keyword ของเรื่องที่จะวิจัย ต้องเชื่อมโยงกับหลัก PA และ LAW ความยาวไม่เกิน 2 หน้า

2) สภาพของปัญหา (Research Problem) คือปัญหาทาง PA และ LAW ว่ามีอย่างไร จำนวน 2 หน้า

Due Date: ต้องส่งวันเสาร์หน้า ถ้าส่งจะได้คะแนนทันที ถูกผิดไม่สำคัญ

อย่าให้คนอื่นทำ อาจารย์แช่งไว้ ...... โหดด้วย ขอบอก

หลักการเขียนรายงานการวิจัย

โดย ไตรภพ USA

การเขียนรายงานการวิจัย โดยทั่วไปมี 5 บท (2/2552, S/2552)

บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (2/2552)

ประกอบด้วย

- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (S/2552)

- วัตถุประสงค์

- ขอบเขต ข้อจำกัด

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- บทนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย (S/2552) บทนิยามศัพท์นี้จะเกี่ยวข้องกับมโนทัศน์หรือสังกัป (Consept) (S/2552)

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

ประกอบด้วย

- กรอบแนวคิด

- ทฤษฎี

- สมมติฐาน

- วรรณกรรม (S/2552)

- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการที่ใช้ในการวิจัย (Methodology) หรือวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบไปด้วย

ประกอบไปด้วย

- ประเภทของการวิจัย

- ประชากร (Population)

- กลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีเลือกกลุ่มตัวย่าง

- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

- วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

- วิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

จากบทที่ 1-3 เรียกว่า Proposal

บทที่ 4 ผลของการวิจัย

บทที่ 5 สรุป

ประกอบไปด้วย

- การอภิปรายผล

- ข้อเสนอแนะของนักวิจัย (S/2552)

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

LP 615 (การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง)

ก่อนอื่นต้องขอโทษที่ไม่สามารถไปร่วมติวด้วย เพราะมีปัญหาทางบ้านนิดหน่อย อีกอย่างรถก็มาเสีย เลยมาไม่ได้ แต่ก็พยายามส่งข้อมูลเพิ่มเติมมาให้อ่านกันนะ ผมเองก็เพิ่งจะเริ่มอ่านในเรื่อง "การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง" เหมือนกัน เพราะไม่คิดว่าจะออกส่วนนี้ เลยต้องมาเร่งอ่านกันหน่อย ยังไงๆคืนนี้จะพยายามค้นข้อสอบเก่ามาให้ดูนะ
โชคดีในการสอบทุกคน รวมทั้งผมด้วย



การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง

ในหลักกฎหมายวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองของไทย หากฝ่ายปกครองได้มีคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น แม้แต่ในส่วนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจเกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวมได้ กรณีเมื่อมีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายภายหลังออกคำสั่งทางปกครองเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นคำสั่งทางปกครองแม้จะชอบด้วยกฎหมายจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกผลของคำสั่งทางปกครองเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนร่วม แต่หลักเกณฑ์ที่จะเพิกถอนย่อมต้องเคร่งครัดไปในลักษณะหนึ่ง เพราะคำสั่งทางปกครองดังกล่าวเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายมิได้มีข้อบกพร่องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ดังนั้นคำสั่งทางปกครองไม่ว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจมีการเพิกถอนได้เสมอ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ร่างกฎหมายวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองของไทยอาจจะมีความประสงค์ที่จะลดความยุ่งยากในการใช้ศัพท์ลง จึงกำหนดให้มีคำว่า “เพิกถอน” เพียงคำเดียวสำหรับคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในกฎหมายวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองของประเทศเยอรมัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อกฎหมายวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองของเรามีการใช้คำศัพท์เทคนิคทางกฎหมายปกครองที่แตกต่างกัน โดยใช้คำว่า “ยกเลิก” (Widerruf) คือ การยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย และใช้คำว่า “เพิกถอน (Ruecknahme) คือ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ถึงระดับโมฆะ

1. ลักษณะคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสองประเภทด้วยกัน คือ
1) คำสั่งทางปกครองที่เป็นโมฆะ หมายถึง คำสั่งทางปกครองซึ่งไม่มีผลบังคับทางกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สามารถเพิกถอนได้ เนื่องจากไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน เพียงแต่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอาจร้องขอให้ศาลปกครองพิสูจน์ความเป็นโมฆกรรมได้
2) ส่วนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า คำสั่งทางปกครองที่อาจเพิกถอนได้ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลในกฎหมายแล้วแต่มีความบกพร่องทางประการหรือเหตุที่ทำให้คำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นความบกพร่องที่ไม่รุนแรงถึงขนาด และไม่ใช่กรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจเยียวยาได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัตินี้
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายไว้ดังนี้
ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อธิบายว่าเมื่อฝ่ายปกครองทราบถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยลักษณะของคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจมีสาเหตุหลักอยู่ 4 ประการ คือ คำสั่งทางปกครองที่ทำลงโดยปราศจากอำนาจ คำสั่งทางปกครองที่ไม่กระทำการตามรูปแบบหรือกระบวนการขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญ คำสั่งทางปกครองที่ใช้อำนาจผิดวัตถุประสงค์ที่กฎหมายกำหนดไว้หรือเรียกว่า ใช้อำนาจโดยบิดผัน และคำสั่งทางปกครองที่ขัดต่อกฎหมายในประการอื่น ๆ

2. หลักกฎหมายปกครองซึ่งใช้ในการพิจารณาเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง หลักกฎหมายนี้มีความเช่นเดียวกับคำสอนทางกฎหมายปกครองที่ว่าการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในเรื่องใดจะต้องมีกฎหมายให้อำนาจในเรื่องนั้น กล่าวคือ การที่รัฐโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะกระทำการใด ๆ ในลักษณะก้าวล่วงไปในขอบเขตของสิทธิเสรีภาพหรือทรัพย์สินของประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้ หรือมีกฎหมายลำดับรองที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติกำหนดให้กระทำการได้เท่านั้น กล่าวโดยสรุปหลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครองแบ่งย่อยได้ 2 หลัก ได้แก่
ก. หลักความมาก่อนของกฎหมาย หมายความว่าการกระทำของรัฐที่ออกมาในรูปบทบัญญัติของกฎหมาย ย่อมอยู่ในลำดับที่มาก่อนของการกระทำต่าง ๆ ของรัฐทั้งหลายรวมทั้งการกระทำของฝ่ายปกครองด้วย ดังนั้นการกระทำของรัฐ (รวมทั้งการกระทำของฝ่ายปกครอง) ทั้งหลาย จึงไม่อาจขัดแย้งกับบทบัญญัติของกฎหมายได้ หลักนี้เรียกร้องในทางปฎิเสธว่าการกระทำของฝ่ายปกครองหรือมาตรการอันใดอันหนึ่งของฝ่ายปกครองจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายทั้งหลายที่มีอยู่ไม่ได้ ดังนั้นหากการกระทำของฝ่ายปกครองหรือมาตรการอันใดของฝ่ายปกครองขัดหรือแย้งกับกฎหมาย การกระทำหรือมาตรการนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข. หลักเงื่อนไขของกฎหมาย ในขณะที่หลักความมาก่อนของกฎหมายเรียกร้องในทางปฎิเสธมิให้ฝ่ายปกครองจะมีอำนาจกระทำการอันใดที่เป็นการขัดแย้งกับกฎหมายที่มีอยู่ แต่หลักเงื่อนไขของกฎหมายกลับเรียกร้องว่าฝ่ายปกครองจะมีอำนาจกระทำการอันใดอันหนึ่งใดได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำของฝ่ายปกครองที่เป็นการกระทบสิทธิของปัจเจกบุคคล หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองกระทำการ ดังกล่าว การกระทำของฝ่ายปกครองนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยหลักเงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว
จากหลักดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดหน้าที่ฝ่ายปกครองว่าจะต้องเคารพต่อกฎหมาย คือ ต้องดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ผลต่อไปมีอยู่ว่าในกรณีที่ปรากฏว่าคำสั่งทางปกครองได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย และดังนั้นฝ่ายปกครองซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกคำสั่งทางปกครอง จึงมีอำนาจที่จะทบทวนคำสั่งดังกล่าวได้เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป และหลักการนี้ถูกนำมาใช้เป็นหลักสำคัญในการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติแห่งนี้โดยในมาตรา 50 กำหนดให้ฝ่ายปกครองเพิกถอนคำสั่งได้หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งนี้ไม่ว่าคำสั่งทางปกครองนั้นจะเป็นคำสั่งซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับหรือไม่ก็ตาม โดยได้แบ่งย่อยการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การให้ประโยชน์ที่เป็นตัวเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ซึ่งหลักเกณฑ์การเพิกถอนจะเป็นมาตรา 51 กับกรณีที่เป็นการให้ประโยชน์แต่ไม่เป็นส่วนตัวเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีหลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 52
2. หลักความมั่นคงแห่งสิทธิ ความมั่นคงแห่งสิทธิเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของระบบระเบียบกฎหมายทุกอย่าง การกระทำใด ๆ ของฝ่ายปกครองที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนนอกจากเป็นไปโดยเสมอภาค และยุติธรรมแล้ว จะต้องทำให้ประชาชนผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายมีความรู้สึกว่าสิทธิดังกล่าวที่เขาได้รับตามกฎหมายนั้นมีความมั่นคงด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนแต่ละคนวางแผนการดำรงตนหรือการใช้สิทธิของตนในระบบระเบียบกฎหมายได้ โดยพิจารณาถึงสิทธิและกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ สำหรับสภาพบังคับในเนื้อหาของคำสั่งทางปกครองซึ่งโดยหลักแล้วผลในทางกฎหมายนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก และไม่อาจเรียกร้องสิทธิที่ได้ให้กับผู้ที่รับคำสั่งทางปกครองกลับคืน หรือย้อนหลังอีกต่อไป
3. หลักความคุ้มครองความเชื่อถือหรือความไว้วางใจโดยสุจริตของประชาชน ข้อห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทำการหรือสั่งการฝ่าฝืนกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น หมายความรวมถึงหน้าที่อย่างหนึ่งขององค์กรฝ่ายปกครองที่จะต้องให้ความคุ้มครองไว้วางใจของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงในสิทธิของเขาตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เมื่อประชาชนมีความเชื่อถือต่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องนำความเชื่อถือดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักกับประโยชน์มหาชนว่าสมควรจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกไปแล้วหรือไม่ หากประโยชน์มหาชนมีน้ำหนักหรือความสำคัญมากกว่าจึงจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้หลักดังกล่าวนี้จะนำมาใช้ในลักษณะของ “การเยียวยา” ความเดือดร้อนเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ กรณีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นคุณหรือเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง ฉะนั้นหลักกฎหมายดังกล่าวจึงปฎิเสธไม่คุ้มครองความเชื่อถือหรือไว้วางใจกรณีดังกล่าวต่อไปนี้
ก) ผู้ที่ได้รับประโยชน์ จากคำสั่งทางปกครองใช้วิธีการที่มิชอบด้วยกฎหมายในการได้มาซึ่งคำสั่งทางปกครอง เช่น หลอกลวง ข่มขู่ หรือให้สินบน เป็นต้น
ข) ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากคำสั่งทางปกครองทราบถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือควรจะทราบถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง
ค) ความไม่ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับคุณประโยชน์ เช่นให้ข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องไม่ว่าเขาจะจงใจหรือไม่ก็ตาม
4. หลักความได้สัดส่วน หลักความได้สัดส่วนมีพื้นฐานมาจากหลักความยุติธรรมที่คำนึงถึงความยุติธรรมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคล และความยุติธรรมต่อสังคมโดยรวมด้วย
5. หลักการบริหารงานที่ดี ในหลายกรณีกฎหมายยอมรับให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจพิจารณาบังคับใช้กฎหมายให้เข้ากับสภาพการณ์ทางข้อเท็จจริง ซึ่งมีความหลากหลายแตกต่างกันในแต่ละกรณีได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้งานทางปกครองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลจากการนี้ในเรื่องของการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองก็คือ เมื่อมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นในเรื่อง “ความเหมาะสม” ของเนื้อหาของคำสั่งทางปกครองที่ออกไปแล้ว ฝ่ายปกครองก็อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าคำสั่งดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตามจึงเห็นได้ว่ามีกรณีที่ถึงแม้ว่าคำสั่งทางปกครองที่ออกไปแล้วเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายปกครองก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวได้ ได้แก่ ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้มีขอบเขตจำกัดบางประการขึ้นอยู่กับลักษณะคำสั่งว่าเป็นกรณีของคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์ (มาตรา 53 วรรคหนึ่ง) หรือเป็นกรณีของคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์ (มาตรา 53 วรรคสอง)

3. หลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
มาตรา 49 วรรคแรก บัญญัติว่า “เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52 และ มาตรา 53 ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์หรือให้โต้แย้งตามกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่”
มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักว่าการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองจะกระทำเมื่อใดก็ได้มีข้อยกเว้นจำกัดไว้ตามมาตรา 49 วรรคสอง ว่าถ้าเป็นการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ เจ้าหน้าที่จะต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่รู้ถึงเหตุแห่งการเพิกถอน แต่หลักที่จะต้องเพิกถอนภายใน 90 วัน นับแต่รู้ถึงเหตุแห่งการเพิกถอนนี้ เป็นไปเพื่อคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้น ถ้าปรากฏว่าการได้ประโยชน์ตามคำสั่งทางปกครองนั้นเป็นไปโดยผู้ได้รับประโยชน์ตามคำสั่งปฎิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง (เป็นการกระทำ) โดยจงใจอันเป็นลักษณะของการฉ้อฉล มิใช่กรณีให้ข้อเท็จจริงไม่ครบเพราะความไม่รู้หรือสะเพร่า)
(2) ข่มขู่เจ้าหน้าที่จนยินยอมออกคำสั่ง โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลระหว่างการข่มขู่นั้น การยินยอมทำคำสั่ง หรืออีกนัยหนึ่งการข่มขู่นั้นต้องถึงขนาดให้เกิดผลเช่นนั้น
(3) ชักจูงใจเจ้าหน้าที่โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมายซึ่งก็คือ การให้สินบนเจ้าพนักงานนั่นเอง
ในทั้งสามกรณีข้างต้นจึงอาจมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์นั้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา 90 วัน

3.1 คำสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์กับคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์หรือ “คำสั่งทางปกครองที่ก่อให้เกิดภาระ” เป็นคำสั่งทางปกครองที่ส่งผลกระทบต่อสถานะในทางกฎหมายในทางเป็นผลร้าย หรือมีลักษณะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้คำสั่งปฎิเสธการออกคำสั่งในทางที่เป็นคุณก็ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่ก่อให้เกิดภาระแก่บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครอง เช่นกัน
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์ ได้แก่ คำสั่งลงโทษทางวินัย คำสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล หรือเคยได้รับทุนค่าเล่าเรียนต่อมาได้มีคำสั่งทางปกครองยกเลิกทุนนั้นหรือให้ประกาศนียบัตรแล้วต่อมามีการเพิกถอน กรณีคำสั่งทางปกครองให้ยกเลิกทุนหรือให้ยกเลิกประกาศนียบัตรเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิใช่เพื่อการให้ประโยชน์เพราะลบล้างผลอันเป็นประโยชน์นั้นเสีย และเป็นการลบล้างผลในกฎหมาย
คำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์ เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลในทางที่เป็นคุณหรือก่อให้เกิดประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ คำสั่งให้เงินชดเชย ให้ทุนหรือเงินอุดหนุน ให้แปลงสัญชาติ ให้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
หลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์จะแตกต่างกันทั้งในแง่ของข้อจำกัดด้านเวลาที่จะให้เพิกถอนได้ และการเยียวยาความเชื่อโดยสุจริตในผลของคำสั่งทางปกครอง

3.2 การเพิกถอนโดยการริเริ่มเองของเจ้าหน้าที่
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 49 ถึงมาตรา 53 เจ้าหน้าที่สามารถริเริ่มการเอง (ex officio) โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือโต้แย้ง และเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้น (รวมทั้งผู้ที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ได้ออกคำสั่งนั้นไป) หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ว่าในระดับใด ก็อาจริเริ่มเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้เอง (มาตรา 49) สำหรับขั้นตอนในการปฎิบัติราชการจะดำเนินการเพิกถอนได้เมื่อใดนั้น โดยหลักการแล้วการเพิกถอนจะกระทำเมื่อใดก็ได้ จะกระทำในระหว่างชั้นการอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือการพิจารณาคดีขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครองก็ได้ หรือจะกระทำเมื่อล่วงพ้นอายุความในการอุทธรณ์หรือพิจารณาคดีแล้วก็ได้ หากมีการอุทธรณ์แล้วหรือพิจารณาคดีเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งย่อมไม่อาจดำเนินการให้ขัดกับผลการวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์หรือองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้อีก (แต่การเพิกถอนเพราะดำเนินการไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณา บางกรณีนั้นมีหลักเกณฑ์เฉพาะว่าจะต้องกระทำก่อนการชี้ขาดในชั้นอุทธรณ์หรือก่อนนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครองตามมาตรา 41) กรณีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนี้เป็นการริเริ่มโดยเจ้าหน้าที่ก็จริง แต่ในทางปฎิบัติ การที่เจ้าหน้าที่ริเริ่มดำเนินการเอง อาจสืบเนื่องมาจากเอกชนร้องเรียนหรือโต้แย้งก็ได้ เพียงแต่การจะยกขึ้นพิจารณาหรือไม่ในกรณีนี้เป็นดุลพินิจโดยเด็ดขาดของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น มิใช่จะต้องทำตามคำขออย่างในกรณีการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามมาตรา 54

3.2.1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งนั้นไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดและบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือให้มีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดก็ได้ มาตรา 50
(2) การเพิกถอนการให้ประโยชน์ (การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง) เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือไม่ให้มีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดไว้ แต่มาตรา 51 กำหนดให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน กล่าวคือถ้าผู้มีความเชื่อโดยสุจริตเช่นนั้นได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นเสียหายเกินสมควร ก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคำสั่งทางปกครองย้อนหลังลงไปลบล้างคำสั่งทางปกครองนั้น หรือหากจำเป็นต้องเพิกถอนย้อนหลังก็จะต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น มีคำสั่งให้ทุนแก่นักศึกษาเรียนดีโดยแจ้งคำสั่งและมอบเงินให้ผิดตัวเป็นคนละคน หากนักศึกษาผู้ได้รับเงินได้นำไปซื้อหนังสือและเครื่องแบบแล้วโดยสุจริตก็สมควรได้รับความคุ้มครองที่จะไม่เพิกถอนย้อนหลัง หรือในตัวอย่างดังกล่าวถ้าเป็นการให้สีหรือปูนนั้นแก่นักศึกษาและนักศึกษาได้เอาสีไปวาดรูปของตนหมดแล้ว หรือนำปูนไปปั้นเป็นงานศิลปะของตนไปแล้ว แม้ของจะยังมีอยู่แต่เปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์อย่างอื่นไปแล้ว ก็สมควรได้รับการคุ้มครองเช่นกัน
ถ้าผู้รับคำสั่งทางปกครองได้รับคำสั่งทางปกครองไปเพราะเหตุดังต่อไปนี้ ผู้นั้นจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ (มาตรา 51 วรรคสาม)
1) ผู้นั้นได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
2) ผู้นั้นได้กระทำการอันเป็นการข่มขู่
3) จูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
4) ผู้นั้นได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือครบถ้วนในสาระสำคัญ
5) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายขณะได้รับคำสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
กรณีตามมาตรา 51 วรรคสาม วิ.ปกครองนี้ กฎหมายถือว่าจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง มาตรา 51 วรรคสี่ ก็กำหนดให้บุคคลผู้มีพฤติการณ์ดังกล่าวต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับไปเต็มจำนวนอีกด้วย

3.2.2 การเยียวยาประโยชน์ที่เสียหาย กรณีคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก. การเพิกถอนการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ การเพิกถอนจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่คงต้องพิจารณาสภาพของเรื่อง ความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ และประโยชน์สาธารณะประกอบกัน เช่น ถ้าพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวแล้วเห็นว่าจำเป็นต้องให้มีผลย้อนหลัง หากเป็นกรณีของประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ การให้คืนประโยชน์ได้ไปก็ต้องนำหลักเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
ข. การเพิกถอนประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ หลักเกณฑ์ทั่วไปในการเพิกถอนก็เป็นเช่นเดียวกับกรณีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ คงต่างกันเพียงในผลของวิธีการเยียวยา หากเป็นการเพิกถอนย้อนหลังเพราะประโยชน์ที่จะเพิกถอนเป็นกรณีไม่อาจแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ ได้ถ้าจำเป็นต้องเพิกถอนประโยชน์ที่ใช้ไปแล้วนั้นเสียจึงต้องให้ “ค่าทดแทน” ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง
ตัวอย่าง อนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานประเภทที่ 3 ใกล้โรงเรียนไม่เกินระยะ 100 เมตร ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ต้องถูกเพิกถอนห้ามใช้เป็นโรงงานทั้งหมด หากยังไม่ก่อสร้างก็คงได้ค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การออกแบบแต่ถ้าสร้างไปแล้วความเสียหายอาจเพิ่มพูนขึ้นตามจำนวนกิจการที่กระทำไป ซึ่งรัฐจะต้องชดใช้ค่าทดแทนได้
ค่าทดแทนที่ให้สำหรับสิ่งที่ทำไป เช่น ในกรณีก่อสร้างจะรวมค่าเขียนแบบ ค่าจ้างก่อสร้าง และงานก่อสร้างที่ทำไปแล้ว แต่ไม่รวมถึงกำไรหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับหากก่อสร้างเสร็จและประกอบกิจการได้ อนึ่ง จำนวนค่าทดแทนที่ให้นี้ มาตรา 52 วรรคสอง บัญญัติว่า ต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับ
สำหรับกรณีที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนนั้น มาตรา 52 วรรคหนึ่ง กำหนดระยะเวลาใช้สิทธิว่าต้องขอภายใน 180 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง

3.2.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งทางปกครองแม้จะออกมาโดยชอบด้วยกฎหมายแต่บางกรณีนั้นมีผลบังคับที่ไม่เหมาะสมแก่สถานการณ์หรือมีเหตุการณ์สำคัญ การคงคำสั่งดังกล่าวย่อมไม่เกิดผลดี จึงจำเป็นต้องมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
(1) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายโดยจะให้ผลตั้งแต่ขณะเพิกถอนหรือมีผลไปในอนาคตก็ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณีเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การเพิกถอนนิติกรรมนั้นคงต้องทำคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนั้นอีก
2) การเพิกถอนนั้นไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุอื่น
(2) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง โดยที่กรณีนี้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุที่จะทำให้เพิกถอนได้จึงต้องจำกัดให้เคร่งครัดเฉพาะเท่าที่จำเป็น ประกอบกับเป็นกรณีมีประโยชน์ที่ให้ไปแล้วมาเกี่ยวกับมาตรา 53 วรรคสอง ได้จำกัดกรณีอาจเพิกถอนได้ไว้ดังต่อไปนี้
1) มีกฎหมายหรือมีข้อสงวนสิทธิ์ให้เพิกถอนได้
2) ผู้รับประโยชน์ไม่ปฎิบัติตามที่กำหนดในคำสั่ง
3) ข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป
4) ข้อกฎหมายเปลี่ยนไป
5) กรณีอาจเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ
นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาแยกลักษณะการใช้ประโยชน์ แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอีก 2 กรณีด้วยกันคือ
ก. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้หรือ
ข. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้
ก. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ มาตรา 53 วรรคสี่ กำหนดว่าเป็นการเพิกถอนประโยชน์เป็นเงินหรือเป็นประโยชน์อื่นที่แบ่งแยกได้อาจเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1) มิได้ปฎิบัติหรือปฎิบัติการล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง กรณีนี้เป็นความล่าช้าในฝ่ายปกครองเอง
2) ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฎิบัติหรือปฎิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งทางปกครอง
ดังนั้น นอกจากกรณีทั้งสองนี้ยกเว้นให้เพิกถอนย้อนหลังได้แล้ว นอกเหนือจากนี้ก็เพิกถอนโดยให้มีผลแต่ในอนาคตเท่านั้น ตามบทบังคับของมาตรา 53 วรรคสอง วิ.ปกครอง และจะต้องคำนึงถึงหลักความเชื่อโดยสุจริตและหลักเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 51 วิ.ปกครองด้วย
ข. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ มาตรา 53 วรรคสาม วิ.ปกครอง กำหนดให้การเพิกถอนในกรณีมุ่งรักษาประโยชน์สาธารณะตามมาตรา 53 วรรคสาม (3) (4) และ (5) วิ.ปกครอง ต้องมีการให้ค่าทดแทนความเสียหายด้วย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง โดยให้นำมาตรา 52 วิ.ปกครอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

3.3. เจ้าหน้าที่เพิกถอนคำสั่งทางปกครองเพราะคู่กรณีขอให้พิจารณาใหม่
การขอให้พิจารณาใหม่เป็นประเภทหนึ่งของกระบวนการเยียวยาในฝ่ายปกครองที่คู่กรณีผู้รับคำสั่งได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งได้พิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองได้ แม้จะพ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 สำหรับการพ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 นั้นคือ (1) กำหนดอุทธรณ์ภายใน 15 วัน สำหรับการอุทธรณ์ประเภทบังคับตามมาตรา 44 และ (2) กำหนดอุทธรณ์เฉพาะตามมาตรา 44 โดยหลักการแล้วการพิจารณาใหม่เป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณีที่จะได้รับความเป็นธรรม และเปิดโอกาสให้แก่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งนั้นเองจะได้แก้ตัวโดยแก้ไขการที่ตนดำเนินการมาโดยบกพร่องให้ชอบด้วยกฎหมายเพราะเรื่องที่ผ่านมามีขั้นตอนการเยียวยาโดยวิธีอื่นตามกฎหมาย เพราะในแง่หนึ่งการหมดขั้นตอนการอุทธรณ์หรือโต้แย้งใด ๆ แล้วก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็ยังอาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามมาตรา 49 ถึงมาตรา 53 วิ.ปกครอง กรณีนี้เป็นเพียงแต่ข้อมูลเบื้องต้นได้รับมาจากคู่กรณีเท่านั้น แต่อำนาจจะเปิดการพิจารณาใหม่และเพิกถอนหรือไม่เป็นของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นตราบใดที่เจ้าหน้าที่ยังคงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามมาตรา 49 ถึงมาตรา 53 วิ.ปกครอง ตราบนั้นก็สมควรรับคำขอพิจารณาใหม่ได้
มีข้อสังเกตว่าการที่มาตรา 54 บัญญัติว่า “เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ได้…” เป็นถ้อยคำที่ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาในทางปฎิบัติได้ กรณีที่คู่กรณีดำเนินการฟ้องร้องคดีขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ขณะเดียวกันในระหว่างการพิจารณาของศาล คู่กรณีได้ยื่นเรื่องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา 54 ซึ่งอาจจะเกิดความขัดแย้งของคำวินิจฉัยทั้งสององค์กรได้ ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายไม่สมควรให้การพิจารณาเรื่องทางปกครองในประเด็นเดียวกันดำเนินไปโดยองค์กรฝ่ายปกครองและองค์กรตุลาการในเวลาเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อคำสั่งทางปกครองยังมีการโต้แย้งอยู่ในชั้นศาล คู่กรณีจึงไม่สามารถที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ให้ความเห็นตามบันทึกเรื่องเสร็จที่ 249/2545 เรื่องกรมบัญชีกลางหารือว่าคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ จะสามารถอุทธรณ์หรือขอให้พิจารณาใหม่ได้หรือไม่ว่า แม้จะมีการฟ้องคดีปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็มีอำนาจพิจารณาใหม่ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้
มาตรา 54 ได้กำหนดขอบเขตในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้จำกัดทำนองเดียวกับการขอให้พิจารณาใหม่ของศาล โดยให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) มีพยานหลักฐานใหม่
2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามามีส่วนในการพิจารณา
3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครอง
4) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
มาตรา 54 วรรคหนึ่ง กำหนดเหตุให้ขอพิจารณาใหม่ไว้ 4 ประการ แต่โดยทั่วไปในทางหลักการเห็นกันว่าการขอให้พิจารณาใหม่มิได้จำกัดเพียงนี้ โดยอาจมีเหตุอื่น ๆ อีกได้เพราะโดยผลของการพิจารณาใหม่คือ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งจะต้องออกคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมและออกคำสั่งใหม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักปกติของการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองทางปกครองตามมาตรา 49 ถึงมาตรา 53 แต่การจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 49 ถึง มาตรา 53 หรือไม่ เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ แต่ถ้ามีผู้เสนอขอพิจารณาใหม่มาเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำขอนั้นอย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะมีหน้าที่ต้องพิจารณาคำขอนั้นหรือไม่ ยังต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในอีก 2 ประการ คือ
1) ในกรณีตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) จะต้องเป็นเรื่องที่คู่กรณีผู้มีคำขอไม่ทราบข้อเท็จจริงนั้นมาก่อนในการพิจารณาคราวที่แล้ว โดยไม่ใช่ความผิดของตน
2) ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ตนได้รู้ถึงเหตุที่ขอให้พิจารณาใหม่
นอกจากเงื่อนไข 2 ประการ หากเจ้าหน้าที่จะรับฟังคำร้องขอนั้น กฎหมายก็มิได้ห้ามเพราะเป็นการได้ข้อเท็จจริง และอาจนำไปใช้อำนาจในเรื่องการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่แทนได้ เพียงแต่ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาให้เสมอไปอย่างเรื่อง “การขอให้พิจารณาใหม่” นี้เท่านั้น

ข้อมูลเตรียมสอบ LP 615

ข้อมูลเตรียมสอบ LP 615 จากคุณโอ-เอ-กิ๊ฟ


อ.ฐิติพร
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นเชื่อเอง
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ใช้กับคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การยกเลิกคำสั่งทางปกครอง ใช้กับคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองมี 2 ประเภทคือ
1. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี
1.1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย
1.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ คือ การให้เงินหรือการให้ทรัพย์สิ้น เช่น การให้ทุนการศึกษา
1.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ เช่น การให้ใบอนุญาตต่าง ๆ
2. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี
2.1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างภาระ
2.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้
2.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้
หลักการพื้นฐานในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1. หลักความชอบด้วยกฎหมายในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง คือ ต้องมีกฎหมายรับรอง หรือให้อำนาจ
2. หลักความมั่นคงแห่งสิทธิ คือ ผู้รับคำสั่งทางปกครองเชื่อมั่นในสิทธิ เช่น นาย ก เชื่อว่าเมื่อตนมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ นาย ก สามารถแต่งงานได้
3. หลักความเชื่อโดยสุจริต คือ เชื่อในตัวคำสั่งทางปกครองที่ออกมาว่าเป็นคำสั่งที่ชอบ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย มองในแง่ของตัวผู้รับคำสั่งทางปกครอง เช่น ผู้รับคำสั่งทางปกครองมีความเชื่อและไว้ใจ แม้ภายหลังคำสั่งนั้นจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ ม.49 - ม.53
มาตรา 49 วรรค 1 จะพูดถึงในเรื่อง ตัวผู้ออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ และ ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่
วรรค2 ในเรื่องของเวลาในการเพิกถอนคำสั่ง
2.1 สามารถเพิกถอนได้ทุกเวลา แม้จะอยู่ในระหว่างชั้นศาล แต่ถ้าคำพิพากษาถึงที่สุด ก็จะเพิกถอนไม่ได้
2.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ต้องทำภายใน 90 วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ
มาตรา 50 -52 เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 50 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย สามารถเพิกถอนได้ทั้งหมด หรือบางส่วน และมีผลย้อนหลัง หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคต
มาตรา 51 วรรค 1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ (การให้เงิน ให้ทรัพย์สิน) เช่นการให้ทุน
1. ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ เช่น มหาวิทยาลัยให้ทุนนาย ก แต่ปรากฎว่า จริง ๆ แล้ว พ่อนาย ก เป็นคนรวย ทิ้งมรดกไว้ให้ แต่นาย ก ไม่รู้ ถือว่านาย ก เชื่อโดยสุจริตว่าตนนั้นเป็นคนจน
2. ประกอบกับประโยชน์สาธารณะ
วรรค 3 ข้อยกเว้น จะอ้างความสุจริตไม่ได้
1. เช่น เรียนดี แต่ยากจน แต่จริง ๆ แล้วไม่จน
2. แสดงข้อความว่ายากจน แต่จริงแล้วไม่ได้ยากจน
3. เช่น รู้ว่าการรับทุนเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ทุนนาย ก แต่แจ้งชื่อผิดเป็นนาย ข แต่นาย ข ก็รู้ว่าการรับทุนนั้นมาโดยไม่ชอบ แต่ก็ยังทำ
ทั้ง 3 กรณี สามารถเพิกถอนย้อนหลัง หรือ ณ ปัจจุบัน หรือมีผลในอนาคตก็ได้
วรรค 4 พูดเรื่องของการเยียวยา
1. เรื่อง ลาภมิควรได้ คือ เหลือเท่าไหร่ ก็คืนเท่านั้น เช่น ให้ทุนนาย ก แต่แจ้งชื่อนาย ข แต่นาย ข เชื่อโดยสุจริตว่าตนเองได้รับทุน ภายหลังทราบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ก็ให้เรียกเก็บจากนาย ข ได้เฉพาะส่วนที่เหลือ ไม่สามารถย้อนหลังได้
2. ถ้าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คือ ไม่ได้สุจริตตั้งแต่แรก ก็ให้เรียกเก็บคืนเต็มจำนวน
มาตรา 52 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกไม่ได้ เช่น การขออนุญาตก่อสร้าง แต่ลืมกำหนดระยะถอยล่น และก็พูดถึงเรื่องเงินค่าทดแทน เพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ค่าทดแทนต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
มาตรา 53 วรรค 1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย อาจเพิกถอนได้ทั้งหมด หรือบางส่วน จะมีผลย้อนหลังไม่ได้ มีผลได้ในปัจจุบัน หรือในอนาคต
ยกเว้น 1. ต้องทำคำสั่งที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนั้นอีก เช่น ยกเลิกคนเป็นโรคผิวหนัง แต่กลายเป็นโรคเลื้อนแทน
2. เป็นการเพิกถอนไม่อาจทำได้ เช่น กฎหมายเปลี่ยน หรือยกเลิกไป
วรรค 2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์ แบ่งแยกไม่ได้
วรรค 3 ในเรื่องของค่าเสียหาย
วรรค 4 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์ แบ่งแยกได้
การเยียวยาและการชดใช้ค่าเสียหายคือ มาตรา 51 ว.4 (ให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ในเรื่อง ลาภมิควรได้) และ มาตรา 52 (ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ประโยชน์แบ่งแยกไม่ได้) มาตรา 53 ว.3 ว.4 ว.5 (ชอบด้วยกฎหมาย) ต้องทดแทน ต้องจ่าย
สรุป เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ 1. ดูว่าเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีผลอย่างไร (ย้อนหลัง ปัจจุบัน อนาคต)
3. ดูเรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย
อ.สุเมธ
1. กฎหมายปกครองคืออะไร (ในเรื่องของอำนาจหน้าที่ ประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ที่เหนือกว่า
กฎหมายปกครองแบ่งเป็น 1. ให้อำนาจ (ให้อำนาจ แล้วไม่ทำ ถือว่า ละเลย)
2. จำกัดอำนาจ (ไม่ให้อำนาจ แล้วยังทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ถือว่า ละเมิด)
2. หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง
1 หลักนิติรัฐ
2 หลักการบริการสาธารณะ
3 หลักความชอบด้วยกฎหมาย
4 หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย
5 หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครองโดยศาล
6 หลักความได้สัดส่วน/หลักความจำเป็น
3. หน่วยงานทางปกครอง ที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1. ส่วนราชการ
2. รัฐวิสาหกิจ
3. หน่วยงานอื่นของรัฐ (องค์การมหาชน) เช่น องค์การทหารผ่านศึก
4. องค์กรอิสระตามรํฐธรรมนูญ แบ่งเป็น ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ กับ ใช้อำนาจตาม พรบ.
5. หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย (อาจเป็นเอกชนก็ได้) เช่น สภาทนายความ
4. การจัดทำบริการสาธารณะ รัฐจัดให้มี (ส่วนราชการ) กับ ตอบสนองความต้องการของประชาชน
เน้นในเรื่องของสัญญาทางปกครอง ตามชีทของท่านอาจารย์สุเมธ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายปกครอง (LP 615) ชุด 7


คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ
รัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควร
(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่
กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(5) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำ หรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง...”
โดยศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง เว้นแต่ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (มาตรา 10 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ)
ส่วนศาลปกครองสูงสุดนั้น ตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ บัญญัติไว้ว่า “ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังต่อไปนี้
(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(3) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
(4) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น“
ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ จะเห็นว่า
(1) เป็นเรื่องของการกระทำการ แต่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(2) เป็นเรื่องของการไม่กระทำ คือมีหน้าที่แต่ละเลย ไม่กระทำการ หรือกระทำการแต่ล่าช้าเกินสมควร
(3) เป็นเรื่องของการละเมิดทางปกครอง
(4) เป็นเรื่องของสัญญาทางปกครอง
(5) เป็นเรื่องของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องประชาชน (เพราะโดยปกติคดีปกครอง ประชาชนจะเป็นผู้ฟ้องคดี)
(6) เป็นเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

ตัวอย่างประเภทคดีที่ศาลปกครองไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา
1. เรื่องที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นประชาชนด้วยกัน เช่น การที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้กู้เงินพิเศษจากสหกรณ์และได้ลาออกจากราชการเพื่อขอรับเงินบำนาญ แต่สหกรณ์ได้อายัดเงินบำนาญของผู้ฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา หาใช่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์มิใช่หน่วยงานทางปกครอง เป็นต้น
2. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากกฎหมายไม่ถือว่าหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานทางปกครอง เช่น ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
หรือ เรื่องที่ฟ้องรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ ในส่วนที่รัฐวิสาหกิจนั้นประกอบธุรกิจเยี่ยงเอกชนทั่วไป เช่น เอกชนผู้ใช้โทรศัพท์ฟ้ององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่งดให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้ฟ้องคดี โดยมิได้ตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนและถี่ถ้วนว่าผู้ฟ้องคดีชำระค่าใช้บริการแล้ว เป็นกรณีโต้แย้งกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ในฐานะเอกชนกับเอกชน อันเป็นคดีพิพาททางแพ่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง
3. เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยการกระทำส่วนตัว มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็น
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. เรื่องที่ข้อพิพาทเกิดจากสัญญาทั่วไป มิใช่เกิดจากสัญญาทางปกครองซึ่งได้แก่ สัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น แม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ก็ไม่อาจฟ้องคดียังศาลปกครองได้ เช่น กรณีที่ฟ้องว่าการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ให้เช่าซื้ออาคาร ได้โอนกรรมสิทธิ์การเช่าซื้อของผู้เช่าเดิมไปให้ผู้เช่าซื้อใหม่โดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นภรรยาของผู้เช่าซื้อเดิมได้รับความเสียหาย (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 27/ 2544)
หรือกรณีที่ฟ้องว่าวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นผิดสัญญากับผู้ฟ้องคดี เพราะยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาทำธุรกิจขายสินค้าในลักษณะเช่นเดียวกับร้านค้าสวัสดิการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เช่าทำการค้าอยู่ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 17/ 2544)
คดีเหล่านี้ต้องฟ้องศาลยุติธรรม ไม่ใช่ศาลปกครอง
5. เรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง หรือศาลอาญา หรือเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานตามคำสั่งศาลยุติธรรม หรือตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่น
กรณีที่ฟ้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไม่ถูกต้องตามระเบียบ เป็นกระบวนการดำเนินการบังคับคดีแพ่งตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดราชบุรี ผู้ฟ้องคดีย่อมที่จะร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้
หรือกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดไม่ให้ผู้ฟ้องคดีตรวจดูเอกสารจากสำนวนคดีของศาล เป็นคดีพิพาทที่ศาลปกครองไม่อาจรับไว้พิจารณาหรือกำหนดคำบังคับได้ เนื่องจากการให้ตรวจดูเอกสารในสำนวนคดีเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
หรือ กรณีฟ้องให้ชดใช้ค่าเสียหายกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมาย
ศาลแพ่งผิดบ้าน การปิดหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลยุติธรรม เมื่อผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องใช้สิทธิต่อศาลยุติธรรมที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
6. เรื่องที่ขาดอายุความฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ เช่น
ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจ ได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ จึงได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จนได้รับการลดโทษลงเป็นการปลดออกจากราชการ หากผู้ฟ้องคดีไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล แต่เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีจึงต้องฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมภายในอายุความ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือลงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 แต่เพิ่งมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองในวันที่ 19 เมษายน 2544 ศาลปกครองจึงไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 31/ 2544)
7. เรื่องที่เป็นการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งถือว่าไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง
เช่น การออกหมายจับ หรือการดำเนินการสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาของพนักงานอัยการ หรือการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ เป็นต้น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยยืนยันหลักดังกล่าวไว้ในคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 6/ 2544, ที่ 14/ 2544, ที่ 34/ 2544, ที่ 106/ 2544 และที่ 523/ 2545
การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางอาญา เช่น การจับกุม การสอบสวน การเปรียบเทียบปรับ การมีความเห็นสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่การกระทำอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการที่นอกเหนือ หรือไม่ได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น หากเข้าเงื่อนไขของคดีปกครองตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ก็อาจเป็นการกระทำทางปกครองได้ เช่น การละเลยต่อหน้าที่ หรือล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 337/ 2545 พนักงานสอบสวนรับเรื่องร้อง
ทุกข์ของผู้ฟ้องคดีไว้แล้วไม่ดำเนินการสอบปากคำพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ ในคดีซึ่งบุตรชายของผู้ฟ้องคดีถูกยิงเสียชีวิต จนเวลาล่วงเลยไปถึง 7 ปี กรณีจึงเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และมิใช่เรื่องการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นคดีที่ศาลปกครองรับไว้พิจารณาได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ
8. เรื่องที่ประสงค์จะขอให้ศาลปกครองลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัยหรือทางอาญา เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือของเจ้าหน้าที่อื่น ไม่ใช่อำนาจของศาลปกครอง และการดำเนินการลงโทษดังกล่าวก็ไม่มีผลเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายของผู้ถูกฟ้องคดี อีกทั้งเป็นคำขอที่ศาลปกครองไม่อาจออกคำบังคับให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ เช่น กรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินคดีรถยนต์เฉี่ยวชนกัน ซึ่งมีผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ต้องหาและนายประกัน จึงได้ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา แต่ได้รับแจ้งผลว่าเจ้าหน้าที่นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว โดยไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและสอบปากคำผู้ฟ้องคดี จึงฟ้องศาลให้สั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่เจ้าหน้าที่ คำขอเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ศาลปกครองจะมีคำสั่งให้ได้ เป็นต้น
9. เรื่องที่ความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีได้หมดสิ้นไป
แล้วในขณะที่มายื่นคำฟ้อง หรือมีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้แล้ว
เช่น กรณีที่ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทยให้จ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไว้แล้ว แต่ก่อนที่ศาลปกครองจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ผู้ฟ้องคดี
ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนที่มาฟ้องคดีไปเรียบร้อยแล้ว
ข้อนี้ไม่รวมถึงกรณีที่หน่วยงานมีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินเนื่องจากทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และสัญญาผ่อนชำระหนี้แก่หน่วยงานอันอาจมีผลทำให้หนี้ระงับแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังอาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งเรียกให้ใช้เงินที่เป็นคำสั่งทางปกครองได้ ไม่ถือว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป เพราะความเดือดร้อนเสียหายยังไม่หมดไป
10. เรื่องที่ฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติให้ฟ้องหน่วยงานของรัฐ ห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่
เช่น ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรที่ออกคำสั่งเลื่อนตำแหน่งข้าราชการไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 7 ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเกษตรจังหวัดนั้น กฎหมายให้สิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ คือกรมส่งเสริมการเกษตร แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่คืออธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองชั้นต้นจะสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาไม่ได้ แต่ชอบที่จะกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองเป็นผู้ถูกฟ้องคดีเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดฯ
11. เรื่องที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด ที่เกิดจากการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างของหน่วยงานขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ชนรถของเอกชนเสียหายหรือชนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม ไม่ใช่ศาลปกครอง
12. เรื่องที่ฟ้องโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิในทรัพย์สิน
เช่น กรณีที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่า เป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี หรือเป็นที่ราชพัสดุสำหรับใช้ในราชการกองทัพอากาศ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาว่ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาเรื่องสิทธิในที่ดินเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาจึงได้แก่ศาลยุติธรรม
13. การโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เช่น กรณีที่ฟ้องเพิกถอนการที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท โดยอ้างว่ามติของที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นมติที่ไม่ชอบนั้น จะต้องได้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติเสียก่อนว่าการโอนหุ้น การเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้น และการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
14. เรื่องการคัดค้านสมาชิกสภาท้องถิ่นที่กฎหมายกำหนดให้ศาลใช้หลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เช่น การคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ที่กฎหมายให้ศาลพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม หากให้ศาลปกครองตัดสินคดีโดยใช้วิธีพิจารณาความแพ่งแทน จะไม่สอดคล้องกับระบบและความมุ่งหมายของกฎหมาย
15. เรื่องที่ฟ้องเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางการปกครองคณะสงฆ์
เช่น กรณีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพระภิกษุฟ้องว่าเจ้าอาวาสออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติกิจทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับฆราวาส โดยไม่ให้เหตุผลและระบุความผิดเป็นลายลักษณ์อักษร และเจ้าคณะตำบลจะใช้อำนาจในตำแหน่งจับผู้ฟ้องคดีให้สึกจากการเป็นพระภิกษุ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ ในฐานะพระสังฆาธิการสั่งให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสงฆ์ อันเป็นการใช้อำนาจทางการปกครองคณะสงฆ์และเป็นคำสั่งในกิจการปกครองของคณะสงฆ์ ซึ่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่เป็นกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์ ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ความไม่เป็นธรรมทางการปกครองไว้เป็นระบบต่างหากแล้ว จึงมิใช่ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกคอรงที่ศาลปกครองจะมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้