วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลเตรียมสอบ LP 615

ข้อมูลเตรียมสอบ LP 615 จากคุณโอ-เอ-กิ๊ฟ


อ.ฐิติพร
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นเชื่อเอง
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ใช้กับคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การยกเลิกคำสั่งทางปกครอง ใช้กับคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองมี 2 ประเภทคือ
1. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี
1.1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย
1.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ คือ การให้เงินหรือการให้ทรัพย์สิ้น เช่น การให้ทุนการศึกษา
1.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ เช่น การให้ใบอนุญาตต่าง ๆ
2. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี
2.1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างภาระ
2.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้
2.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้
หลักการพื้นฐานในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1. หลักความชอบด้วยกฎหมายในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง คือ ต้องมีกฎหมายรับรอง หรือให้อำนาจ
2. หลักความมั่นคงแห่งสิทธิ คือ ผู้รับคำสั่งทางปกครองเชื่อมั่นในสิทธิ เช่น นาย ก เชื่อว่าเมื่อตนมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ นาย ก สามารถแต่งงานได้
3. หลักความเชื่อโดยสุจริต คือ เชื่อในตัวคำสั่งทางปกครองที่ออกมาว่าเป็นคำสั่งที่ชอบ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย มองในแง่ของตัวผู้รับคำสั่งทางปกครอง เช่น ผู้รับคำสั่งทางปกครองมีความเชื่อและไว้ใจ แม้ภายหลังคำสั่งนั้นจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ ม.49 - ม.53
มาตรา 49 วรรค 1 จะพูดถึงในเรื่อง ตัวผู้ออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ และ ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่
วรรค2 ในเรื่องของเวลาในการเพิกถอนคำสั่ง
2.1 สามารถเพิกถอนได้ทุกเวลา แม้จะอยู่ในระหว่างชั้นศาล แต่ถ้าคำพิพากษาถึงที่สุด ก็จะเพิกถอนไม่ได้
2.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ต้องทำภายใน 90 วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ
มาตรา 50 -52 เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 50 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย สามารถเพิกถอนได้ทั้งหมด หรือบางส่วน และมีผลย้อนหลัง หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคต
มาตรา 51 วรรค 1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ (การให้เงิน ให้ทรัพย์สิน) เช่นการให้ทุน
1. ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ เช่น มหาวิทยาลัยให้ทุนนาย ก แต่ปรากฎว่า จริง ๆ แล้ว พ่อนาย ก เป็นคนรวย ทิ้งมรดกไว้ให้ แต่นาย ก ไม่รู้ ถือว่านาย ก เชื่อโดยสุจริตว่าตนนั้นเป็นคนจน
2. ประกอบกับประโยชน์สาธารณะ
วรรค 3 ข้อยกเว้น จะอ้างความสุจริตไม่ได้
1. เช่น เรียนดี แต่ยากจน แต่จริง ๆ แล้วไม่จน
2. แสดงข้อความว่ายากจน แต่จริงแล้วไม่ได้ยากจน
3. เช่น รู้ว่าการรับทุนเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ทุนนาย ก แต่แจ้งชื่อผิดเป็นนาย ข แต่นาย ข ก็รู้ว่าการรับทุนนั้นมาโดยไม่ชอบ แต่ก็ยังทำ
ทั้ง 3 กรณี สามารถเพิกถอนย้อนหลัง หรือ ณ ปัจจุบัน หรือมีผลในอนาคตก็ได้
วรรค 4 พูดเรื่องของการเยียวยา
1. เรื่อง ลาภมิควรได้ คือ เหลือเท่าไหร่ ก็คืนเท่านั้น เช่น ให้ทุนนาย ก แต่แจ้งชื่อนาย ข แต่นาย ข เชื่อโดยสุจริตว่าตนเองได้รับทุน ภายหลังทราบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ก็ให้เรียกเก็บจากนาย ข ได้เฉพาะส่วนที่เหลือ ไม่สามารถย้อนหลังได้
2. ถ้าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คือ ไม่ได้สุจริตตั้งแต่แรก ก็ให้เรียกเก็บคืนเต็มจำนวน
มาตรา 52 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกไม่ได้ เช่น การขออนุญาตก่อสร้าง แต่ลืมกำหนดระยะถอยล่น และก็พูดถึงเรื่องเงินค่าทดแทน เพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ค่าทดแทนต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
มาตรา 53 วรรค 1 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระ เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย อาจเพิกถอนได้ทั้งหมด หรือบางส่วน จะมีผลย้อนหลังไม่ได้ มีผลได้ในปัจจุบัน หรือในอนาคต
ยกเว้น 1. ต้องทำคำสั่งที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนั้นอีก เช่น ยกเลิกคนเป็นโรคผิวหนัง แต่กลายเป็นโรคเลื้อนแทน
2. เป็นการเพิกถอนไม่อาจทำได้ เช่น กฎหมายเปลี่ยน หรือยกเลิกไป
วรรค 2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์ แบ่งแยกไม่ได้
วรรค 3 ในเรื่องของค่าเสียหาย
วรรค 4 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์ แบ่งแยกได้
การเยียวยาและการชดใช้ค่าเสียหายคือ มาตรา 51 ว.4 (ให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้ในเรื่อง ลาภมิควรได้) และ มาตรา 52 (ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ประโยชน์แบ่งแยกไม่ได้) มาตรา 53 ว.3 ว.4 ว.5 (ชอบด้วยกฎหมาย) ต้องทดแทน ต้องจ่าย
สรุป เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ 1. ดูว่าเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีผลอย่างไร (ย้อนหลัง ปัจจุบัน อนาคต)
3. ดูเรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย
อ.สุเมธ
1. กฎหมายปกครองคืออะไร (ในเรื่องของอำนาจหน้าที่ ประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ที่เหนือกว่า
กฎหมายปกครองแบ่งเป็น 1. ให้อำนาจ (ให้อำนาจ แล้วไม่ทำ ถือว่า ละเลย)
2. จำกัดอำนาจ (ไม่ให้อำนาจ แล้วยังทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ถือว่า ละเมิด)
2. หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง
1 หลักนิติรัฐ
2 หลักการบริการสาธารณะ
3 หลักความชอบด้วยกฎหมาย
4 หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย
5 หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครองโดยศาล
6 หลักความได้สัดส่วน/หลักความจำเป็น
3. หน่วยงานทางปกครอง ที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1. ส่วนราชการ
2. รัฐวิสาหกิจ
3. หน่วยงานอื่นของรัฐ (องค์การมหาชน) เช่น องค์การทหารผ่านศึก
4. องค์กรอิสระตามรํฐธรรมนูญ แบ่งเป็น ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ กับ ใช้อำนาจตาม พรบ.
5. หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย (อาจเป็นเอกชนก็ได้) เช่น สภาทนายความ
4. การจัดทำบริการสาธารณะ รัฐจัดให้มี (ส่วนราชการ) กับ ตอบสนองความต้องการของประชาชน
เน้นในเรื่องของสัญญาทางปกครอง ตามชีทของท่านอาจารย์สุเมธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น