วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

LP 612 ส่วนของ อ. พงศ์สัณฑ์ 1 ข้อ (ข้อใหญ๋๗

คำถาม นักทฤษฏี 3 ยุค คือในยุค Classic, Neo-Classic และยุคร่วมสมัย ซึ่ง อ. ให้จำมา 5 ท่านพร้อมแนวคิด

Max Weber มีความเห็นเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การแบบ “ระบบราชการ” (Bureaucracy)
- มีความเป็นทางการสูง
- มีสายการบังคับบัญชาชัดเจนตามสายบังคับบัญชา (Chain of Command) มีสายการบังคับบัญชามากระดับ ขยายระดับตามแนวดิ่ง
- มีกฏ ระเบียบ ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (System of Rules)
- มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
- เน้นความพันธ์ที่เป็นทางการ ไม่ยึดถือความสัมพันธ์แบบส่วนตัว
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) ความก้าวหน้าของพนักงานอญุ่ที่เป็นผู้ชำนาญด้านเทคนิค
- ใช้ระบบคุณธรรม (Merit System)
จากรูปแบบดังกล่าว ระบบราชการจึงเหมาะสมกับคนประเภททฤษฏี X
ข้อเสีย อย่างไรก็ตาม ระบบราชการของ Weber ถูกมองว่าแท้จริงแล้วเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เพราะในการทำงานต้องยึดติดกับกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัดจนเกินไป ทำให้เกิดความขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า (Red Tape)
นอกจากนี้ ทฤษฏีระบบราชการ Max Weber ถูกวิจารณ์ว่าเน้นความสำคัญของโครงสร้างมากเกินไป แต่สนใจเฉพาะการบริหารภายในองค์การเท่านั้น โดยเขาพยายามชี้ให้เห็นว่าองค์การในอุดมคตินั้นมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบขององค์การอื่นๆ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจสภาพแวดล้อม


Henry Fayol เจ้าของทฤษฎีหลักการบริหารทั่วไป (General Principle of Management) ได้กำหนดว่าหน้าที่ของนักบริหารประกอบด้วยหลัก 5 ประการที่เรียกว่า POCCC
P การวางแผน (Planning) คือแนวทางในการดำเนินการ โดยการคาดคะเนหรือพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในอนาคต
O การจัดองค์การ (Organizing) คือการกำหนดถึงโครงสร้างโดยระบุหน้าที่ โดยการผสมผสานระหว่างวัตถุ คนและเงิน
C การบังคับบัญชา (Commanding) คือการ .... ซึ่งการบังคับบัญชาที่ดีนั้นต้องเป็นการติดต่อสื่อสาร 2 ฝ่าย กล่าวคือการยินยอมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาสามารถแสดงความคิดเห็นได้
C การประสานงาน (Coordinating) คือการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
C การควบคุม (Controlling) คือการติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

Frederic W. Taylor เป็นวิศวกรเครื่องยนต์ เป็นเจ้าของแนวคิดในการศึกษาองค์การและการจัดการ
Frederic W. Taylor เป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์โ (Scientific Management) โดยเน้นโครงสร้าง โดยเห็นว่าหากองค์การมีโครงสร้างในการทำงานที่ดี มีการจัดแบ่งงานที่ดี
Frederic W. เป็นผู้ริเริ่มค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้แรงงานและความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยมีความเชื่อว่านิสัยของมนุษย์ชอบหลีกเลี่ยงงานและความรับผิดชอบ ฉะนั้น จึงควรใช้ระบบการจ้างรายชิ้นเพื่อกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น นอกจากนี้เขายังเชื่อในหลักการทำงานที่ว่าการแบ่งแยกงานกันทำจะทำให้มนุษย์สามารถทำงานตามความถนัดของตน อันจะเป็นผลทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแนวความคิดของ Taylor นี้ มีอิทธิพลต่การบริหารในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆในสมัยนั้น จนเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
แนวคิดในเรื่องการบริหารจัดการตามหลัก Scientific Management
- ใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำงาน โดยการสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เพื่อหาหลักการทำงานที่ดีที่สุด One Best Way มาใช้ในการทำงานในองค์การ เพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
-ทฤษฎีของ Taylor ให้ความสนใจเฉพาะการบริหารภายในโดยไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมของคน โดยเขาเป็นนักวิชาการคนเดียวในให้ความสนใจคน “ระดับคนงาน” โดยการเลือกคนที่เหมาะสมกับงาน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความเห็นของเขากลับได้รับการต่อต้านจากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสหภาพแรงงาน
- มองคนเหมือนเครื่องจักร ที่ต้องจูงใจให้ทำงานด้วยเงิน (Money Incentive)
- เป็นองค์การในระบบปิด
- Taylor เห็นว่าการบริหารงานคือศิลปในการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่นเป็นผู้ปฏิบัติงาน มีการเลลือกคนที่เหมาะสม มีกระบวนการพัฒนาคน


Abraham Maslow Maslow ได้เสนอทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Need Theory) หรือทฤษฏีจูงใจ (Theory of Motivation) โดยแบ่งลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1) ความต้องการทางกายภาพหรือทางร่างกาย (Phyisiological Need) ซึ่งก็คือปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย และในปัจจุบันยังหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย
2) ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Need) คือความปลอดภัยมในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการงานด้วย
3) ความต้องการทางด้านสังคม (Social Need) ได้แก่ความต้องการความรักและการยอมรับจากสังคม
4) ความต้องการทางด้านที่จะมีฐานะเด่นหรือมีชื่อเสียง (Esteem Need) คือความต้องการได้รับการยกย่องนับถือและสรรเสริญจากสังคม
5) ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต (Self-Actualization Need) ได้แก่ ความร่ำรวย


Douglas Murray McGregor ได้เสนอทฤษฏี x และ Y ไว้ในหนังสือ The Human Side Enterprise โดยมองคนออกเป็น 2 ลักษณะ
ทฤษฏี x มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- โดยทั่วไปคนมีนิสัยเกียจคร้าน
- ชอบเลี่ยงงาน
- ขาดความกระตือลือล้น ไม่มีความรับผิดชอบ ชอบเป็นผู้ตาม
- เห็นแก่ตัว และเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
- ไม่ฉลาด


ทฤษฏี Y มีสมมติฐานเกี่ยวกับคน ดังนี้
- มนุษย์ไม่ได้เกียจคร้าน ชอบทำงาน
- คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้ การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน
- มีความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพที่ตนมีอยู่
- มีความรับผิดชอบ

คำถาม หน้าที่ของผู้บริหาร
POSDCORB แนวความคิดกระบวนการบริหาร
Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่างๆไว้ในหนังสือชื่อ Paper on the Science of Administration: Note on the Theory of Organization โดยเขามีความเห็นว่าการบริหารงานทุกหน่วยงานจะมีประสิทธิภาพได้ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นของคน โดยมีแนวคิดในกระบวนการบริหารโดยใช้หลัก POSDCORB
P = การวางแผน (Planning) คือการวางแผนเค้าโครงก่อนการลงมือปฏิบัติ
O = การจัดองค์การ (Organizing)
S = การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน (Staffing) คือการจัดหาบุคลากรมาปฎ”บัติงาน เพื่อสรรหาบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพมาปฏิบัติงาน
D = การอำนวยการ (Directing) คือการใช้ศิลปในการบริหารงาน
CO = การประสานงาน (Coordinating) คือการประสานงานให้ส่วนต่างๆของกระบวนทำงนอย่างต่อเนื่องกัน
R = รายงาน (Reporting) คือกระบวนการรายงายให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน
B = งบประมาณ (Budgeting) คือการวางแผนบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการคลัง
สาระของ POSDCORB คือประสิทธิภาพในการบริหาร คือเพื่อให้การบริหารงานทุกหน่วยมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นหรือตามความถนัดของคนงาน โดยมีการแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้าและพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบขององค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิดและมีสายการบังคะบบัญชาที่ลดหลั่นกันมา


คำถาม 3 โครงสร้างในองค์การ






ความรู้เพิ่มเติมที่ อ. กล่าวถึง
ทฤษฎีการจูงใจของเฮร์สเบิร์ก (Herzberg’s Theory of Motivation) เสนอโดย Frederic Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่จีผลทำงานของบุคคลากรในองค์การ โดยศึกษาถึงทัศนคติที่บุคคลมีต่อการทำงาน เพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอใจในการทำงานและทำให้คนงานมีควารู้สึกที่ดีในการที่จะพยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1) ปัจจัยจูงใจ (Motivate Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เป็นปัจจัยที่ถ้าองค์การสามารถกระทำได้ จะเป็นผลกระตุ้นให้คนทำงานทำงานได้ดีขึ้น และถ้าไม่มีก็ไม่ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด
2) ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมคือปัจจัยที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์การอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น แต่ถึงแม้ว่าไม่มีก็ไม่ถึงขนาดทำให้คนงานไม่พอใจ และไทม่ถือว่ามีส่วนกระตุ้นให้เกิดการทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบในการทำงาน สภาพหรือเงื่อนไขในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทำงาน
----------

Line Staff คือ
Support Staff คือฝ่ายอำนวยการคอยอำนวยความสะดวก เช่น ฝ่ายบคคล
----------

เครือข่ายของการสื่อสารในองค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การสื่อสารแบบเป็นทางการ มักเป็นการสื่อสารตามสายบังคับบัญชา
1) การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication) คือการสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เช่น
- การแถลงนโยบาย
- การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ
­
2) การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication) คือการสื่อสารจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไปสู่ผู้บังคับบัญชา ได้แก่
- การรายงานการปฏิบัติงาน
- การรายงานสภาพปัญหาอุปสรรคของงาน
- 3) การสื่อสารในแนวนอน (Lateral Communication) คือการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ในระดับสายการบังคับบัญชาในชั้นเดียวกัน
----------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น